ระบบการบริหารโรงเรียนกินนอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

ผู้แต่ง

  • ปิยดา ยาผา นักศึกษาปริญญาเอก สาขาการบริหารการศึกษา
  • ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ อาจารย์ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ผศ.ดร.สุธิดา หอวัฒนกุล อาจารย์ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารโรงเรียนกินนอน หลักเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากรอบแนวคิดระบบการบริหารโรงเรียนกินนอนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (2) ยกร่างต้นแบบชิ้นงานระบบการบริหารโรงเรียนกินนอน และ (3) รับรองระบบการบริหารโรงเรียนกินนอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ประชากรเป็นผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโรงเรียนกินนอนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือ รักษาราชการแทนแทนผู้อำนวยการโรงเรียน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 และ ครูผู้รับผิดชอบนักเรียนกินนอน รวมจำนวน 146 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  โดยการใช้ตารางของ เครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า 1) ด้านระบบการบริหารโรงเรียนกินนอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) ด้านบริบท (2) ด้านปัจจัยนำเข้า (3) ด้านกระบวนการ (4) ด้านผลลัพธ์ และ (5) ด้านผลย้อนกลับ 2) ด้านการพัฒนากรอบแนวคิดระบบการบริหารโรงเรียนกินนอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า กรอบแนวคิดระบบการบริหารโรงเรียนกินนอนมีค่าความคิดเห็นอยู่ในระดับ เห็นด้วยมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22   3) ด้านองค์ประกอบต้นแบบชิ้นงานของระบบการบริหารโรงเรียนกินนอนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมี 5 องค์ประกอบดังนี้ (1) ด้านบริบท (2) ด้านปัจจัยนำเข้า (3) ด้านกระบวนการ (4) ด้านผลลัพธ์ และ (5) ด้านผลย้อนกลับ โดยมีการดำเนินการ ดังนี้ (1) การวางแผน (2) การดำเนินการ (3) การตรวจสอบ (4) การปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหา และ (5) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และ  4) ด้านการรับรองระบบการบริหารโรงเรียนกินนอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ระบบการบริหารโรงเรียนกินนอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีประสิทธิภาพ และระดับความคิดเห็นในระดับ เห็นด้วยมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99

References

เกษม คำสม (2559). ระบบการบริหารโรงเรียนกินนอนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2. ดุษฎีนิพนธ์ (บริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
เครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). [มาใหม่] ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2558-2563 ของ สพฐ. 6 เรื่อง เร่งด่วนภายใน 1 ปี. 3 มิถุนายน 2558 จาก http://www.krusmart.com/education-reform-2558-2563/#sthash.yBkJMv2S.dpuf
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา (เอกสารการสอน). มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. จาก http://www.educ.su.ac.th/2013/images/stories/210655_01.pdf
ปรียานุช พิบูลศราวุธ.(2551) โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ.ศูนย์ประสานงานกลางการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรัส สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
พรมลือ แก้วคำใจ(2551). พฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริการโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ สังกัดแผนกศึกษาแขวงพงสาลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป ลาว). วิทยานิพนธ์(กศ.ม. การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว) .(2558). เอกสารสรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมพัฒนานิสัย 5 ห้องชีวิต ตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนโรงเรียนพักนอน โดยผ่านกิจกรรมพัฒนานิสัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29