โยนิโสมนสิการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา

ผู้แต่ง

  • พระสุนทรา วรสาโร จันทร์โต นักศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ผศ.ว่าที่พันตรี.ดร.นพดล เจนอักษร อาจารย์ที่ปรึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

โยนิโสมนสิการ, ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ  1) โยนิโสมนสิการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา 2)  ผลการยืนยันโยนิโสมนสิการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา วิธีการวิจัยประกอบด้วย  3  ขั้นตอน  คือ  ขั้นตอนที่  1  ศึกษาค้นคว้าโยนิโสมนสิการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา  ขั้นตอนที่  2  การวิเคราะห์โยนิโสมนสิการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาขั้นตอนที่  3  ผลการยืนยันการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจำนวน จำนวน 196 โรงเรียนผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียน  คือ  ผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ  รวมทั้งสิ้น จำนวน 392 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ  แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง   แบบสอบถามความคิดเห็น         และแบบสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่   ร้อยละ  มัชฌิมเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ 

ผลการวิจัยพบว่า

1. โยนิโสมนสิการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ  คือ  1)  ผู้บริหารคิดแบบมีเหตุผล  2)  ผู้บริหารคิดแบบมีกระบวนการ  3)  ผู้บริหารคิดแบบรอบคอบ  4)  ผู้บริหารคิดแบบมีส่วนร่วม  5)  ผู้บริหารคิดแบบแก้ไขปัญหา  6)  ผู้บริหารคิดแบบมีวิจารณญาณ  7)  ผู้บริหารคิดแบบมีเป้าหมาย 8)  ผู้บริหารคิดตามความเป็นจริง

2. ผลการยืนยันองค์ประกอบโยนิโสมนสิการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา  ทั้ง  8  องค์ประกอบ  ได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิว่า  ถูกต้อง  เหมาะสม  เป็นไปได้  และนำไปใช้ประโยชน์ได้

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. ผู้ชนะ 10 คิด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ซัคเซสมีเดียบจก, 2553.
ชาติ แจ่มนุช. สอนอย่างไรให้คิดเป็น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, 2545.
ทิศนา แขมมณี. วิทยาการด้านการคิด กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บริษัทเดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมนเนจเม้นจำกัด, 2544.
ดิลก บุญอิ่ม, “การใช้หลักโยนิโสมนสิการแนวอริยสัจเป็นฐานการเรียนรู้ด้วยตนเองในการ ดำรงชีวิต” มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 2560.
ธัญวรัตน์ อุทโท, “รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับ ประถมศึกษา” ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอรท์ กรุงเทพ, 2559.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 81. กรุงเทพฯ : พิมพ์สวย, 2550.
สุมน อมรวิวัฒน์. กัลยาณมิตรนิเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้, 2546,
สุวิทย์ มูลคำ. ครบเครื่องเรื่องการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์, 2548.
Ausubel,D.P. Education Psychology A Cognitive view. New York : Holt Rinehart and Winston, 1968.
Beyer, B.k. Practical strategies for the Teaching of Thinking. Boston : Allyn and Bacon, 1987.
Chien, J.C. Examining a successful urban elementary school : Putting the pieces for school improvement. New Jersey : Princeton University Press 2004.
for school improvement. New Jersey : Princeton University Press 2004.
Griffitts, D.C. “The effect of activity-oriented science instruction on the development.” Dissertation Abstracts International, 1987 ,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29