ปัจจัยความสำเร็จของการสื่อสารเพื่อควบคุมภาวะโภชนาการเกินในเด็ก : การประเมินผลโครงการ: “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน”

ผู้แต่ง

  • รองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • ปฐมพงษ์ จงศักดิ์สวัสดิ์ นักวิชาการ ประจำศูนย์วิชาการเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

การประเมินผล, การสื่อสาร, เด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน, การควบคุม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล “โครงการสร้างสรรค์สื่อรณรงค์โภชนาการสมวัยในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา: อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้)”   วัตถุประสงค์สำคัญคือ การศึกษาความสำเร็จของผลลัพธ์  และวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของโครงการ โดยใช้กรอบแนวคิดการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีอายุระหว่าง 8-15 ปี จำนวน 1,250 คน จากทั้งหมด 22 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  แบบทดสอบความรู้ และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย  2) การสัมภาษณ์เชิงลึก  และ 3) การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า  โครงการบรรลุผลลัพธ์ดังนี้ 1) นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินมีจำนวนลดลง 2)  สื่อและนวัตกรรมที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นสามารถเสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งความรู้ แรงบันดาลใจและพฤติกรรม และ 3) โรงเรียนสามารถยกระดับการทำงานโดยการขยายเครือข่ายและการบูรณาการการทำงานร่วมกันในพื้นที่  ส่วนปัจจัยความสำเร็จของโครงการ ประกอบด้วย ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกโรงเรียน ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนแกนนำ ต้องมีทักษะการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ

References

ชุติมา ทองวชิระ และคณะ. (2561, สิงหาคม). ชุมชนสุขภาวะบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชนและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย: กรณีศึกษาชุมชนท่าเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5 (ฉบับพิเศษ), 51-61.
ณิชากร ศรีเพชรดี, อาทิตย์ เคนมี และอนุชิต นิ่มตลุง. (2562). อุบัติการณ์ “โรคอ้วน” บนความรุ่งเรืองของอุตสาหกรรมอาหาร. ค้นจาก https://waymagazine.org/ncd_bmi/
ปุลวิชช์ ทองแตง และจันทร์จิรา สีสว่าง. (2012, September-December). ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กไทย. Ramathibodi Nursing Journal, 18 (3), 287-297. ค้นจาก https://med.mahidol.ac.th/nursing/jns/DocumentLink/2555/issue_03/02.pdf
ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวโน้มโรคอ้วนคุกคามเด็กไทย. ค้นจาก https://th.rajanukul.go.th/preview-3482.html
รสิตา ธรรมสาโรรัชต์. (2559, กรกฎาคม- ธันวาคม). กัลยาณมิตร กับแนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. วารสารบัณฑิตศาส์น มมร. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14 (2), 56-65.
ลัดดา เหมาะสุวรรณ และวิชัย เอกพลากร. (2557). ภาวะโภชนาการของเด็กไทย. ใน รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ.2557 (สุขภาพเด็ก). (น.121-146). ค้นจาก https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report/thai2014kid.pdf
สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และอุปถัมภ์ ชมพู. (2561, เมษายน-มิถุนายน). พุทธวิธีการรู้เท่าทันสื่อใหม่สำหรับเยาวชนเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6 (2), 460-473.
สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). การสะท้อนผลลัพธ์. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ในการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีหน่วยจัดการพื้นที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
อรอนงค์ ชูแก้ว, ปิยะนุช จิตตนูนท์ และอาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์. (2559, มกราคม-เมษายน). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักของเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะอ้วน. Songklanagarind Journal of Nursing, 36 (1), 69-83. ค้นจาก file:///C:/Users/USER10/Desktop/55068-Article%20Text-127647-1-10-20160420.pdf
Chatchai Nokdee. (2557). คนไทยเป็นโรคอ้วนอันดับสองของอาเซียน. ค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/24745-
Geserick, M., Vogel, M., Gausche, R. & Lipek, T. (2018, October). Acceleration of BMI in Early Childhood and Risk of Sustained Obesity. The New England Journal of Medicine, 4. Retrieved from https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1803527
The GBD 2015 Obesity Collaborators. (2017, July). Health Effects of Overweight and Obesity in 195 Countries Over 25 Years. The New England Journal of Medicine, 6. Retrieved from https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1614362

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29