การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • สุวิทย์ ภาณุจารี อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ณัฐธนธีรา ศรีภา อาจารย์พิเศษประจำบัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การประกันคุณภาพการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการคุณภาพที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive research)   กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  โดยมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่  จำนวน  115  รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการคุณภาพและการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า:

1. การบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการนำองค์การ ด้านผลลัพธ์การดำเนินการ ด้านการวางยุทธศาสตร์ ด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร และด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามลำดับ

2. การประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการบริหารจัดการ  ด้านการบริการวิชาการ และด้านการวิจัย  ตามลำดับ

3. การบริหารจัดการส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ และด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์  ร้อยละ 77.00 (R2 = 0.770) สามารถเขียนเป็นรูปสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ ดังนี้ 

สมการคะแนนดิบ Y=0.889 + 0.470 (IA) + 0.332 (PM) 

สมการคะแนนมาตรฐาน Zy =  0.521(Z IA) + 0.378(Z PM) 

References

ภาษาไทย
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). การวิจัยเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ทิปพับลิเคชั่น
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. นนทบุรี : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน. (2557). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน.นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน. (2558). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน.นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน. (2559). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน.นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2549). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2549, สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://nih.dmsc.moph.go.th./PMQA/PM QA.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

ภาษาอังกฤษ
Best, J.W. (1970). Research In Education. (2 nd ed). Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall.
Burrill, C. W. & Ledolter, J. (1999). Achieving quality through continual improvement. New York: Mc Graw-Hill.
Figenbaum, A. V. (1991). Total Quality Control. (3 th ed.). New York : Mc Graw-Hill.
Jackson, P. and Ashton, D. (1995). Managing a quality system using BS/EN/ISO 9000 (formerly BS 5750). London: Kogan Page.
Juran, J.M. & Gryna, F.M. .(1993). Quality planning and analysis. (3th ed.). Singapore : Mc Graw-Hill Book.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Liston Colleen. (1999). Managing Quality and Standards. Buckingham : Open University Press. New York: prentice-Hall.
Newby, E. F. (1998). Total quality management and the elementary school. New York: Prentice - Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-15