รูปแบบการบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาปรัชญา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารหลักสูตร;, เกณฑ์มาตรฐาน;, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย;บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน สาขาวิชาปรัชญา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประชากรที่ใช้ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ คืออาจารย์ประจำหลักสูตรจำนวน ๒๐ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี ๒ ประเภท ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาปรัชญา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการเรียนการสอน ด้านที่ต่ำสุด คือด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
ด้านหลักสูตรและเนื้อหา เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในสาขาวิชาที่ท่านบริหารอยู่มีความเหมาะสม ด้านที่ต่ำสุด คือรายวิชาในหลักสูตร
ด้านการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยงสูงสุด คือการส่งเสริมความคิดเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ ด้านที่ต่ำสุด คือการส่งเสริมให้เกิดความใฝ่รู้
ด้านอาจารย์ผู้สอน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือมีการติดตามความรู้ใหม่ๆ และนำมาเชื่อมโยงกับการเรียนการสอน ด้านที่ต่ำสุด คือในการเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในวงวิชาการ
ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือหนังสือ ตำรา เอกสาร สื่อการเรียนรู้ในห้องสมุดที่เพียงพอ และความทันสมัย ด้านที่ต่ำสุด คือห้องปฏิบัติการ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ที่มีความทันสมัยและเพียงพอต่อการทำงาน
References
7.1 หนังสือทั่วไป
กมล ภู่ประเสริฐ. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ทิปส์พับบลิเคชั่น, 2544 .
ธีระ รุญเจริญ. การบริหารโรงเรียนยุคปฎิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ข้าวฟ่าง, 2546.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร, 2544 .
ประพันธ์ สุริหาร. หลักและระบบการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2541.
ยุวดี ศันสนีย์รัตน์. การบริหารจัดการที่สถานศึกษา (ฉบับสรุป). กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542.
วัชราวลี วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา.การบริหารจัดการหลักสูตร (2552).สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553,จากhttp://203.144.133.41/km/index.php?option=com
วิจิตร ศรีสะอ้าน. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์คุรุสภา, 2542.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 2. ข้อมูลพื้นฐานการศึกษา. กลุ่มบริหารงานบุคคล, 2550.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2546.
อรพรรณ พรสีมา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. ตัวอย่างประสบการณ์ที่คัดสรรโรงเรียนในโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. ห้างหุ้นส่วนวีทีซีคอมมิวนิเคชัน สุขุมวิทย์ 65 พระโขนงเหนือวัฒนา : กรุงเทพมหานคร, 2546.
อุทัย บุญประเสริฐ. การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2544.
7.2 วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
สรกฤช สิงห์งาม, การบริหารวิชาการตามแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2,ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2551
จำนง เวทย์ประสิทธิ์. “การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สำนัก งานการประถมศึกษาจังหวัดกระบี่” ปริญญานิพนธ์ปริญญาการบริหารมหาบัณฑิต . บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา, 2545.
ไพรัช หงส์เทียบ. “การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่ส่งผลต่อการจัด การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ขตการศึกษา 5” วิทยานิพนธ์ปริญญาการบริหารมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร , 2544.
สกล สัตยธรรม, “สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในฝันสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาฉะเชิงเทราเขต1”,ปริญญานิพนธ์ปริญญาการบริหารมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา, 2550.
สมุทร ชำนาญ.การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน.วิทยานิพนธ์ปริญญาการบริหารดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา 2546 .
สัญญา พันธไชยา. “ปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น” วิทยานิพนธ์ปริญญาการบริหารมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2545.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์