การพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • สิริภัชกรณ์ ดวงคำ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สถาพร ขันโต

คำสำคัญ:

การพัฒนา;, รูปแบบ;, การบริหารทรัพยากรบุคล;, สถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ;

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษารูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2.พัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 3.ประเมินตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคล จากการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา 5 คน ขั้นที่ 2 การพัฒนารูปแบบโดยสร้างแบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 331 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 3 ประเมินรูปแบบ ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ 1) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ 2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3) การบริหารค่าตอบแทน 4) การให้สวัสดิการ 5) การประเมินผลการปฏิบัติงาน  6) การสรรหา 7) การคัดเลือก 2. ระดับความจำเป็นของตัวแปรที่กำหนดสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลส่วนใหญ่มีความจำเป็นในระดับมาก 3. ผลการประเมินด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้

References

ธราธิป เข่งคุ้ม.(2548). ปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรของโรงเรียนนายร้อย ตำรวจ
ภาวิทย์ ชินะโชติ.(2561). รูปแบบการพัฒนานักทรัพยากรบุคคลโดยใช้ทีมข้ามสายงานกลุ่มธุรกิจ ธนาคาร. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วัชรวิชญ์ นิธิวรรัชย์.(2557). พัฒนาการของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจจากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการ ภาครัฐ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วิลาศ เรียงแหลม.(2561). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือ ปริญญา ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2547).Using the Balanced Scorecard as a Strategy
Management System. กรุงเทพมหานคร : พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2547). พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2557). รายงานประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) ของกอง บังคับการฝึกอบรมตำรวจกลาง พ.ศ.2557
Bowin RB, Harvey D.(2000). Human resource management: An experimental approach. 2nd ed.
New Jersey: Prentice-Hall Inc..
Kaiser quoted in Barbara G.Tabachink, and Linda S. Fidell.(983).Using Multivariate Statistics .
New York: Harper & Row.
Lee J.Cronbach.(1984). Essentials of psychological Testing, 4th ed. New York : Harper & Row
Publishers.
Sammonds, P. Hillman, J. & Mortimore, P. (1995). “Key characteristics of effective schools a review of school effectiveness research.” A report by the institute of education for the office for standards in education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22