THE CAUSAL RELATIONSHIP MODEL OF PURCHASE DECISION ON GOVERNMENT LOTTERY THROUGH PAGE FACEBOOK OF CONSUMERS IN BANGKOK AND VICINITY

Authors

  • supawinee ้hancherngchai นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • สุมามาลย์ ปานคำ

Keywords:

Government Lottery;, Page Facebook;, Purchase Decision;, Structural Equation Modelling;, Intention of Purchase;

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่เคยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านเพจเฟซบุ๊ก จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้างใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเพื่อหาเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุของตัวแปร ประกอบด้วย 5 ตัวแปร ได้แก่ 1) ด้านความไว้วางใจ 2) ด้านการรับรู้ผลประโยชน์ 3) ด้านการรับรู้ความเสี่ยง 4) ด้านความตั้งใจซื้อ และ 5) ด้านการตัดสินใจซื้อ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ 0.83 แสดงว่าตัวแปรในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านเพจเฟซบุ๊กได้ร้อยละ 83 พบว่า ด้านความตั้งใจซื้อมีอิทธิพลมากที่สุดต่อการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

References

กฤตินา จันทร์หวร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ากิ๊ฟช็อปผ่านทางแอปพลิเคชันอินสตา
แกรมของผู้บริโภคระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ขวัญฤทัย เดชทองคำ และเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2562). ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจ, 42(164), 1-27.
เจนจิรา ยืนยงและคณะ. (2556). ความหมายของคำว่า Social network สังคมออนไลน์. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562, จาก https://sites.google.com/site/socialnetworksangkhmxxnlin05/khwam-hmay-khxng-kha-wasocial-network-sangkhm-xxnlin
ณัฐเศรษฐ์ ศิรินันท์ธนานนท์. (2559). อีคอมเมิร์ซต้องเป็นเรื่องง่าย ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/721929
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วริษฐา สุริยไพฑูรย์. (2560). อิทธิพลของการรับรู้ความมีประโยชน์และความง่ายในการใช้งานที่ส่งผลต่อ
ทัศนคติและความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภคผ่านระบบพาณิชย์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล. (2559). เกร็ดความรู้: ความเป็นมาของสลากกินแบ่งรัฐบาลในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562, จาก https://www.ptp.or.th/news/229
Rachbini, w. (2018). The Impact of Consumer Trust, Perceived Risk, Perceived Benefit on
Purchase Intention and Purchase Decision. International Journal of Advanced Research (IJAR), 6(1), 1036-1044.

Downloads

Published

2020-12-22

How to Cite

้hancherngchai supawinee, & ปานคำ ส. . (2020). THE CAUSAL RELATIONSHIP MODEL OF PURCHASE DECISION ON GOVERNMENT LOTTERY THROUGH PAGE FACEBOOK OF CONSUMERS IN BANGKOK AND VICINITY. Mahamakut Graduate School Journal, 18(2), 15. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mgsj/article/view/245412

Issue

Section

Research Articles