รูปแบบการบริหารจัดการเชิงบูรณาการหลักความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

ผู้แต่ง

  • สุวิทย์ ภาณุจารี อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ณัฐธนธีรา ศรีภา

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารจัดการ ;, หลักความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์;

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบแนวคิด พัฒนา และประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเชิงบูรณาการหลักความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ  โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน  74  สถาบัน โดยมีผู้ให้ข้อมูล จำนวน 207 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .98  และแบบประเมิน เก็บข้อมูลในปีพุทธศักราช 2562  ส่วนสถิติพื้นฐานที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติเพื่อการจำแนกกลุ่มตัวแปร คือ เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA)  โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผลการวิจัย พบว่า:

1) กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการเชิงบูรณาการหลักความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ประกอบด้วย 4 แนวคิดหลัก ได้แก่   1)  แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบ  2) แนวคิดเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  3) แนวคิดหลักความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ ทางพระพุทธศาสนา  และ 4) แนวคิดการประเมินรูปแบบ

2) รูปแบบการบริหารจัดการเชิงบูรณาการหลักความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เป็นรูปแบบเชิงบูรณาการ หรือ MI-URR MODEL ตามแนวคิดเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และหลักความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ โดยเรียงตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมุ่งเน้นความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ 2) การให้ความสำคัญกับบุคลากร ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ   4) การนำและการกำกับดูแลองค์การ 5) ผลลัพธ์การดำเนินการ และ 6) การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

3) รูปแบบการบริหารจัดการเชิงบูรณาการกับหลักความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ได้รับการประเมินและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ 17 คน

References

ภาษาไทย
ภาระวี ศุขโรจน์. (2556). รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาเอกชนสู่ความเป็นเลิศ, สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2559, จาก file:///C:/Documents%20and%20Settings/User/My%
file:///C:/Documents%20and%20Settings/User/My%20Documents/Downloads/16103-34864-1-SM.pdf,
ศาลปกครองสูงสุด. (2554). คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ)กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย. สืบค้นเมื่อ 22มิถุนายน 2557 จาก https://www.google.co.th/webhp?sourceid
สถาบันพระปกเกล้า .(2555). การสร้างความปรองดองแห่งชาติ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร)., สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 255, จาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content hr/hr24/ d040455
-01-2.pdf.
สถาบันพระปกเกล้า. (ม.ป.ป.). การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2562, จากhttp://wiki.kpi.ac.th/index.php?title
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2558). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2558, สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://nih.dmsc.moph.go.th./PMQA/PM QA.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2546). รูปแบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาแนวใหม่(รายงานการวิจัย), สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.sc.mahidol.ac.th/scpn/documents/
book/admin_model.pdf
Isranews. (2555).วิกฤต.."พนักงานมหา'ลัย" วิกฤต..อุดมศึกษาของประเทศ. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.isranews.org
matichon online. (2556). กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมจากมติสภามหาวิทยาลัยและคำสั่งผู้บริหารที่ไม่ได้ปรับฐานเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี.สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2557 จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1375676578
Somnuak Chula. (2012). คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองและเจ้าที่ของรัฐ(ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ)ถูกฟ้องกรณีกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2557,จาก https://www.facebook.com/the.six.paths.of.pein
/posts/
Torchgroup. (2013). กรณีศึกษา: การฟ้องศาลปกครองในมหาวิทยาลัยราชภัฏที่สะท้อนความล้มเหลวในการบริหารงานองค์กรของผู้บริหารมหาวิทยาลัยและสภามหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2557 จาก torchgroup.wordpress. com/2013/02/21

ภาษาอังกฤษ
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Madaus, G.F., Scriven, M.S., & Stufflebeam, D.L. (1983). Evaluation models viewpoints on educational and human services evaluation. 8 th ed. Boston: Khuwer-Nijhoff Publishing.
Michael Walton. (1995). Managing yourself on an off the ward. London : Blackmell
Science .,
Richard D. Irwin. Griffin, Ricky W. (1999). Management. (6th ed). Boston, MA:
Houghton Mifflin Company.
Ritter, James M. (2005). The Applicability of Total Quality Manangement to Higher Education. College Chief Academic officers and Chief financial officers, n.p.
.Schermerhorn, John R., Hunt. (2002). Management. (7th ed.). New York: John Wiley & Son.
Stoner, James AF. (1978). Management. New jersey: Prentice-Hall.
Trudy, W. Banta. (1996). Assessment in practice: putting principles to work on college campuses. Student Educational Measurement University of United States.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22