การตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับบุคคลทั่วไป

ผู้แต่ง

  • สวภพ ชัชวาลย์ finance
  • ณัฐสพันธ์ เผ่าพันธุ์

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ;, ลงทุน;, ตลาดหลักทรัพย์;

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษา (1) ศึกษาพฤติกรรมการลงทุนของบุคคลทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ (2) ศึกษาผลการปฏิบัติงาน จำแนกตามปัจจัยส่วน บุคคล ของนักลงทุน (3) ศึกษาปัจจัยสภาพการเงิน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล นำผลจากแบบสอบถามมาทดสอบหาความเชื่อมั่น (Reliability Coefficient) มีค่า 0.95 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มคนทั่วไปในสถานประกอบการ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติแบบ T-Test , F-Test (ANOVA) และสถิติหาความสัมพันธ์ระหว่างตัว แปรด้วยวิเคราะห์แบบ (Pearson Correlation) ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ระดับตำแหน่งงาน และ อายุการทำงานที่ต่างกัน พบว่าในด้านเพศ มีความคิดเห็นต่อผลการปฏิบัติงานที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยในด้านอื่น ๆ มีการลงทุนที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (2) ความรู้ทางด้านการเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตัดสินใจลงทุนของบุคคลทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ 0.05 (3) วินัยทางการเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อการตัดสินใจลงทุนของบุคคลทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

References

กนกวรรณ ศรีนวล. (2558). “การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลพฤติกรรมการลงทุนและแรงจูงใจในการลงทุนที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กนกดล สิริวัฒนชัย, และอิทธิกร ขำเดช. (2557). การตัดสินใจลงทุนในหุ้นของคนรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 18 -48 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงินการลงทุนการตลาดและการบริหารธุรกิจ. ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1. (มกราคม – มีนาคม 2557): 521-542.
เกียรติศักดิ พัฒนดํารงเกียรต. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของนักลงทุนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จิรัตน์ สังข์แก้ว. (2544). รู้วิเคราะห์เจาะเรื่องหุ้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
จีรศักดิ์ จอมมงคล. (2550). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในตราสารอนุพันธ์ของนักลงทุน”. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณรงค์ จารขจรกุล. (2541). ปัจจัยกำหนดผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2545). ก้าวแรกสู่การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ส่วนสิ่งพิมพ์ ฝ่ายตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
วราดล ทุนอินทร์. (2557). พฤติกรรมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของนักลงทุนใน เขตอำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วุฒิชัย จำนง. (2523). พฤติกรรมการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สายสิทธิ์ ภูริพันธุ์. (2555). “ความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ของนักศึกษาคณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่”. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศาสฏย์ บุญเฉลียว. (2550). “ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายเงินปันผลกับราคาหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อธิวัฒน์ โตสันติกุล และณักษ์ กุลิสร์. (2556). “แนวโน้มและพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนชาว ไทยในเขตกรุงเทพมหานคร”. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2. (2556): 1-17.
อุบลรัตน์ ศรีเกษ. (2556). “พฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนในหุ้นของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่”. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22