ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจ การบริหารจัดการ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรตำแหน่งปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ลัฐิกา หวังสุขใจ sripatum university
  • ณัฐสพันธ์ เผ่าพันธุ์

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์;, ปัจจัยแรงจูงใจ ;, การบริหารจัดการ ;, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ;

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจ การบริหารจัดการ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรตำแหน่งปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรตำแหน่งปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 35 – 45 ปี มีรายได้ระหว่าง 15,001 – 20,000 บาท ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 6 – 10 ปี การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยแรงจูงใจ การบริหารจัดการ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรตำแหน่งปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานต่างกัน มีปัจจัยแรงจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และสถานภาพ ระยะเวลาต่างกัน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นปัจจัยแรงจูงใจและปัจจัยการบริหารจัดการของบุคลากรตำแหน่งปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐาน รายได้ สังกัดต่างกัน มีปัจจัยแรงจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรตำแหน่งปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นปัจจัยการบริหารจัดการของบุคลากรตำแหน่งปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

References

ติน ปรัชญพฤทธ์. (2536). ทฤษฏีองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ติน ปรัชญพฤทธิ์ (2553). ทฤษฎีองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ทิมมิกา เรืองเนตร. (2558). “ภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน บริษัท ไทยฟู้ดส์กรุ๊ป จำกัด”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรราชูปถัมภ์.
เนตรดาว มัชฌิมา. (2549). “ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูพี่เลี้ยงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดอุบลราชธานี”.
บุญทิพย์ ฐานวิเศษ. (2551). “ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลกรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี”. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการปกครองท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2545). จิตวิทยาสังคม.กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
สมใจ ลักษณะ. (2546). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2553). สัมมนาทฤษฎีองค์กรและการจัดการ [เอกสารประกอบการสอน]. นครปฐม: คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2553). การพัฒนาองค์การและแรงจูงใจ. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหาร. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22