แนวทางการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ขวัญเรือน มงคลชัยสิริกุล คณะครุศาสตร์ พุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูวิรุฬห์สุตคุณ
  • เกษม แสงนนท์

คำสำคัญ:

การสื่อสาร., ภาษาอังกฤษ., การเปรียบเทียบ., การพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสื่อสารภาษาอังกฤษของคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบการสื่อสารภาษาอังกฤษของคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษของคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามโดยมีประชากรเป็นคณาจารย์ จำนวน 125 รูป/คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิธีการทดสอบค่าเอฟ (F-test) และมีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
  1. 1. สภาพการสื่อสารภาษาอังกฤษของคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก คณาจารย์มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านผู้รับสาร ด้านปฏิกิริยาตอบกลับ ด้านสาร ด้านช่องทางการสื่อสาร และด้านผู้ส่งสาร
  2. 2. ผลการเปรียบเทียบการสื่อสารภาษาอังกฤษของคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล คณาจารย์และบุคลากรมีสถานภาพ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และหน่วยงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการสื่อสารภาษาอังกฤษของคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
  3. 3. เสนอแนวทางการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษของคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา 1) ด้านผู้รับสาร เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสร้างแรงจูงใจกระตุ้นและเปิดโอกาสให้คณาจารย์และบุคลากรได้พูด ฟัง อ่าน เขียนภาษาอังกฤษ 2)ด้านปฏิกิริยาตอบกลับ กระตุ้นการพูดภาษาอังกฤษโดยจัดทำโครงการพัฒนาการฟังภาษาอังกฤษประเมินก่อนและหลัง3) ด้านสาร มีการสื่อสารภาษาอังกฤษที่เป็นสัญลักษณ์ต่างๆส่งเสริมให้แต่ละส่วนงานมีการสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่เป็นภาษาอังกฤษ 4) ด้านช่องทางการสื่อสารมีนโยบายส่งเสริมการสื่อสารภาษาอังกฤษผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ สื่อสิ่งพิมพ์มุมหนังสือ นิตยสาร วารสารภาษาอังกฤษภายในส่วนงาน 5)ด้านผู้ส่งสาร ควรพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยพัฒนาทักษะด้านการพูดเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ความรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากการประกาศเสียงตามสาย ประกาศข่าวสาร

References

เกศินี จุฑาวิจิตร. การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
กองแผนงาน. แผนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 12 (2560-2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.
จีราภรณ์ สว่างพลกรัง.“การศึกษาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูในสถานศึกษา จังหวัดนครราชสีมา”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2551.

พัชรินทร์ สติมั่น. “ปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครูประถมศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตฎ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552.
รุ่งพัฒน์ ฮวดสามเสน.“ได้ทำการศึกษาการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาครูสอนภาษาอังกฤษตามหลักอริยสัจ4 โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1”. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2560.
วลัยพร บางชัยภูมิ. “กลยุทธ์การบริหารการสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจสำหรับสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2560.
อาริตา สาวดี. “สภาพปัญหาและความต้องการการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสททางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22