สภาพปัจจุบัน ปัญหารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ
คำสำคัญ:
โรงเรียนวิถีพุทธ, สภาพสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ ๓) เพื่อเสนอการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน ๓๗๗ คน วิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ การบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธ ๖ ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนมีแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ ๑) การเตรียมการ ๒) การดำเนินการจัดสภาพและองค์ประกอบ ๓) การดำเนินการพัฒนาตามระบบไตรสิกขา ๔) การดูแลสนับสนุนใกล้ชิด ๕) การปรับปรุงและพัฒนาต่อเนื่อง ๖) การประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ปัญหาของการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ สถานศึกษาโดยบุคลากรในสถานศึกษายังขาดการมีร่วมกับผู้ปกครอง และชุมชนเท่าที่ควรซึ่งอาจจะเกิดจากสภาพสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่เร่งรีบ ผู้ปกครองของนักเรียนมีภาระหน้าที่ที่จะต้องหาเลี้ยงครอบครัวทำให้ขาดการเอาใจใส่และร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียน บางโรงเรียนได้เน้นการสอบวัดประเมินผลผู้เรียนการสอบโอเน็ต การสอบเอ็นเน็ต เป็นต้นทำให้บางครั้งอาจละเลยการประยุกต์หลักไตรสิกขาในการเรียนการสอน รวมถึงสภาพปัญหางบประมาณสนับสนุนในส่วนการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ งบประมาณสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ทางพุทธศาสนา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบแก้ไขเพื่อให้มีงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ อย่างมั่นคง รูปแบบโรงเรียนวิถีพุทธ มีจุดเน้นในการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา ผ่านการพัฒนาการ กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น อย่างมีปัญญารู้เข้าใจในคุณค่าแท้ โดยมีผู้บริหารและคณะครูเป็นกัลยาณมิตรในการพัฒนาการดำเนินชีวิตด้วยการใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงหาปัญญาและวัฒนธรรมเมตตาต่อกัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ร.ส.พ., ๒๕๔๖.
คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. กรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ ๙ ตามมติคณะรัฐมนตรี, ๒๕๔๓.
ราตรี รัตนโสภา. “การศึกษาการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 25๖๐.
พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา โอภาโส). “การวิเคราะห์ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพุทธธรรมโรงเรียนวิถีพุทธ ระดับประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธรบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 25๕๗.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). อ้างใน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. สรุปแนวคิดจากหนังสือการพัฒนาที่ยั่งยืน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http://www.vitheebuddha.com/main.php [27 พฤษภาคม 25๖๒].
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). สู่การศึกษาแนวทางพุทธ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ร.ส.พ., ๒๕๔๖.
ส่วนวางแผนและพัฒนาการอบรม. “เอกสารประกอบการสัมมนาโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ ๘ ประจำปี 2560”. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. รูปแบบโรงเรียนวิถีพุทธ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.vitheebuddha.com/main.php [27 พฤษภาคม 25๖๒].
อมรรัตน์ แก้วมะ. “การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต ๑”. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, ๒๕๔๘.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์