การแปลภาพพจน์อุปมาในวรรณคดีบาลีเป็นบทร้อยกรองไทย
คำสำคัญ:
การแปล, ภาพพจน์อุปมา, วรรณคดีบาลี, บทร้อยกรองไทยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อแปลภาพพจน์อุปมาในวรรณคดีบาลีเป็นบทร้อยกรองไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ภาพพจน์อุปมาในวรรณคดีบาลีที่แปลเป็นบทร้อยกรองไทย การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้อมูลตัวอย่างจากหนังสืออุปมาอุปมัยจากพระไตรปิฎก เรียบเรียงโดยพระครูธรรมธรไพบูลย์ ธมฺมวิปุโล และคณะ โดยอ้างอิงต้นฉบับบาลีจากคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา ฉบับภาษาบาลีสยามรัฐ (ออนไลน์), คัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ พุทธศักราช 2525 และคัมภีร์ มิลินทปัญหา ทฤษฎีที่ใช้ในการแปล ได้แก่ ทฤษฎีการแปลบทร้อยกรองของสัญฉวี สายบัว ผลการวิจัยพบว่า วิธีการแปลที่ผู้วิจัยเลือกใช้ในการแปลโดยส่วนมากเป็นวิธีการแปลแบบตีความ และเป็นการแปลโดยการผสมผสานวิธีการแปลในบทร้อยกรองแต่ละบท วิธีการแปลที่เหมาะสมที่ผู้วิจัยเลือกใช้ในการแปลมี 3 วิธี ได้แก่ 1) วิธีการแปลแบบตีความ 2) วิธีการแปลแบบตรงตัว 3) วิธีการแปลแบบกึ่งตรงตัว โดยผู้วิจัยแปลเป็นบทร้อยกรองไทย จำนวนทั้งสิ้น 5 ประเภท คือ กลอนแปดสุภาพ กลอนหกสุภาพ กาพย์ยานีสิบเอ็ด โคลงสี่สุภาพ และวิชชุมมาลาฉันท์แปด รวมวรรณคดีบาลีต้นฉบับจำนวน 62 ตัวอย่าง/แหล่งที่มา สำหรับการวิเคราะห์ภาพพจน์อุปมา พบว่า มีการใช้ภาพพจน์อุปมาในการเปรียบเทียบลักษณะบุคคล 2 จำพวก ได้แก่ คนพาลจำพวกหนึ่ง บัณฑิตและบุคคลที่ควรบูชาจำพวกหนึ่ง
References
E-tipitaka. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับบาลีสยามรัฐ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://etipitaka.com.
. พระไตรปิฎกและอรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย, (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://etipitaka.com.
อรรถกถาบาลี ฉบับสยามรัฐ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.thepathofpurity.com/home.
รพินทร ณ ถลาง. การแปลวรรณกรรมสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2544.
ดวงตา สุพล. ทฤษฎีและกลวิธีการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2541.
วรรณา แสงอร่ามเรือง. ทฤษฎีและหลักการแปล. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 2542.
สัญฉวี สายบัว. หลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.
. เอกสารวิชาการ รวมบทความภาษาและภาษาศาสตร์. มกราคม 2526, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/joling/issue/view/10422 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564.
สิทธา พินิจภูวดล. คู่มือนักแปลอาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์, 2544.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์