การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “การอ่านมาตราตัวสะกดโดยการเล่นเกมประกอบบัตรคำ ของนักเรียนที่บกพร่องด้านสติปัญญา” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • นนท์ปวิธ ดีพรมกุล สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • วีระ วงศ์สรรค์

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, การอ่านมาตราตัวสะกด, การเล่นเกมประกอบบัตรคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพร้อม และคุณลักษณะของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่บกพร่องด้านสติปัญญาที่ใช้ในการทดลอง (2) หาประสิทธิภาพชุดกิจกรรม การเรียนรู้เรื่องการอ่านมาตราตัวสะกดโดยการเล่นเกมประกอบบัตรคำของนักเรียนที่บกพร่อง ด้านสติปัญญาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) ศึกษาความต้องการ และความเป็นอยู่ของนักเรียนที่ บกพร่องด้านสติปัญญา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนักเรียนที่บกพร่อง ด้านสติปัญญา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาบดี จังหวัดนนทบุรี จำนวน 4 คน ที่มีระดับ สติปัญญา (I.Q.) 50 - 55 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดกิจกรรม การเรียนรู้เรื่องการอ่านมาตราตัวสะกดโดยการเล่นเกมประกอบบัตรคำ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า (1) ความพร้อม และคุณลักษณะของนักเรียน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นผู้บกพร่องด้านสติปัญญาในระดับ IQ 50 - 55 คำนวน 4 คน เป็นนักเรียนที่เป็น เพศชาย 2 คน และเพศหญิง 2 คน (2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการอ่านมาตราตัวสะกดโดยการเล่น เกมประกอบบัตรคำ ของนักเรียนที่บกพร่องด้านสติปัญญา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาบดี จังหวัดนนทบุรี ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.90 / 83.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ (3) นักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา มีความต้องการ และความเป็นอยู่ ที่เหมือนกันทั้ง 4 คน จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ความต้องการให้มีคนรัก ความต้องการด้านการเรียนและการสร้างอาชีพ และความต้องการกำลังใจ และมีเลือกเพียง 1 คน เลือกเพียง 1 รายการ ได้แก่ ความต้องการอาหาร และข้าวของเครื่องใช้

References

กรมวิชาการ. (2546). แนวทางการประเมินผลด้วยทางเลือกใหม่ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จินตนา ใบซูกายี. (2534). การเขียนสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาสาสน์.
ทรง จิตประสาท. (2534). การเขียนผลงานทางวิชาการที่เป็นเอกสาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ธวัช วันชูชาติ. (2542). พฤติกรรมการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. นครสวรรค์ : สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.
นิภาพร ปวนสุรินทร์. (2542). การศึกษาความสามารถสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการสอนโดยใช้เกม.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาพิเศษ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บันลือ พฤกษะวัน. (2535). มิติใหม่ในการสอนอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนา พานิช.
ประเทิน มหาขันธ์. (2519). การสอนอ่านเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์. (2542). เกมส์ พลศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ปิยวรรณ สังข์จันทราพร. (2547). การพัฒนาชุดการสอนเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ภาษาไทยไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). อุครดิตถ์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
เพ็ญนภา แสนลี. (2542). การพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์นันทนาการเรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มะลิ อาจวิชัย. (2540). การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตราสะกดแม่กน แม่กด และแม่กน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การประถมศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรรณี โสมประยูร. (2537). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2525). พัฒนาหลักสูตรและการสอนมิติใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สุนันทา โสรัจจ์. (2511). การศึกษาความสามารถทางการเขียนสะกดการันต์และการศึกษาหามูลเหตุแห่งการเขียนสะกดการันต์ผิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดพระนคร. วิทยานิพนธ์. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2547). 19 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ห้างหุ่งส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30