รูปแบบการบริหารคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารคุณภาพ, การศึกษาขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๓) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๖๗ โรง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า ๑) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่างองค์ประกอบ ๗ องค์ประกอบ ๑๗ ตัวบ่งชี้ ๒) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี ๗ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ๑) ด้านการนำองค์การ ๒) ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๓) ด้านการให้ความสำคัญกับนักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง ๔) ด้านการวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ๕) ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ๖) ด้านการมุ่งเน้นการทำงาน และ ๗) ด้านผลลัพธ์การดำเนินการ และ ๓) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการประเมินรับรองอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ๔.๕๐ ซึ่งผ่านเกณฑ์การรับรอง
References
สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๗-๒๕๕๘. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ศิวาโกลด์มีเดีย จำกัด, ๒๕๕๗.
อภิชาติ จีระวุฒิ. กรมการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, ๒๕๕๗.
Covey and Snyder. Education including pre-school settings and nurseries, Retrieved January 9,2018, from http://www.ugr.es/~recfpro/rev153ART2en.pdf, 2008.
Linder and Brooks. A Study of Factor Contributing to Achieving and Sustaining School Effective in Elementary Schools. London : Dissertation Abstracts International, 200
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์