ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหาร กับการบริหารโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1

ผู้แต่ง

  • พรหมพิริยะ พนาสนธิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กรปภา เจริญชันษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหาร, การบริหารโรงเรียนของผู้บริหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหาร กับการบริหารโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารกับการบริหารโรงเรียนของโรงเรียนวัดสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

          ประชากรในการศึกษาคือ ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 เขต 1 จำนวน 234 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้ตัวอย่างจำนวน 148 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation ) และทดสอบสมมติฐานโดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า  ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 เป็นความความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง หมายความว่าถ้าผู้บริหารสถานศึกษามีมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหาร สูง จะเป็นปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมให้การบริหารโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษามีโอกาสบรรลุเป้าหมายตามไปด้วย

คำสำคัญ : มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหาร  การบริหารโรงเรียนของผู้บริหาร

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
-------- (2546ค), พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฏ
กระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ.
กฤษณา ศักดิ์ศรี. (2547) .มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรพิทยา.
กาญจนา คุณารักษ์. (2548) .มนุษยสัมพันธ์. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ขุนทอง สุขทวร(2562). มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
จรูญ ทองถาวร. (2549) . มนุษยสัมพันธ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ชัชวาลย์ วงศ์ทา.(2547) . มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด
กำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหาร การศึกษาบัณฑิตศึกษา สถาบันราชภัฏ
กำแพงเพชร.
นิยม สุวรรณะ.(2551). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารกับมนุษย์สัมพันธ์ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดราชบุรี. ปริญญานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒประสานมิตร
ปรีชา ยอดแก้ว.(2547). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารกับผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนสังกัด
เทศบาลเมือง เขต 7. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตศึกษา สถาบันราชภัฏ
กำแพงเพชร.
พิมพ์ใจ โอภานุรัษ์ธรรม.(2552). มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวน
สุนันทา.
ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล.(2549). มนุษยสัมพันธ์สำหรับครู. กรุงเทพมหานคร : โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.
สมหวัง ไชยศรีฮาด. (2547). มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักกงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภฏเลย .
Blumberg,Arthur; & William, Greenfield. (1986). The Affective Principal : Perspectives on School Leadership.
2nd ed. Boston: Allyn and Bacon.
Candoli, I.C. et al. (1992). School business administration: a planning approach. (4th ed). Massachusetts: Allyn and Bacon.
Davis, K.& J. Newstrom. (1985). Human behavior at work: Organizational behavior. New York: McGraw-Hill.
Hoy, W.K.&Miskel, C.G. (1991). Educational administration : Theory research and practice. New York: Random House.
Komote, Stephen. (May 2001) “Human Relation as a Vital Factor in the Managerial Hierarchical Structure of Black
School,” Dissertation Abtracts International . 36,7: 3576-A.
Sergiovanni, Thoman J. (1973). Factors wich effect satisfaction and dissatis faction of teachers. Expoloration in Education.
Tillotson, E.A. (July 1996). “An Analysis of Technical Human and Conceptual Skills Among Student Affairs Administrators in Higher Education,” Dissertation Abstracts International. 23 (3) : 64 - A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30