ระบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พระมหาวีระ ธมฺมเตโช (ภัทรกรินทร์) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมศักดิ์ บุญปู่ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สิน งามประโคน สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ระบบ, การบริหารสถานศึกษา, หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

ระบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย ๕ ส่วน ได้แก่  ๑) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การบริหาร ๔ ด้าน และหลักธรรมาภิบาล ๖ ประการ ๒) กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการบริหารสถานศึกษา ๑๑ ด้านและการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ๔ ด้าน ๓) ผลลัพธ์หรือผลผลิต ได้แก่ วัตถุประสงค์ที่แน่นอน ทรัพยากรในการบริหาร มีการประสานงานระหว่างกัน เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีเป้าหมาย ปัจจัยในการบริหาร  และลักษณะของการบริหาร การแบ่งงาน การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ และหลักการพัฒนาการบริหารการจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปสิ่งแวดล้อม หลักการบริหารเพื่อการพัฒนาโดยการนำเอาสมรรถนะ หรือ ความสามารถที่มีอยู่ในระบบบริหารมาลงมือปฏิบัติ ๔) ผลกระทบ ข้อมูลป้อนกลับ ได้แก่ ลักษณะของนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ ลักษณะของสภาพแวดล้อม ลักษณะของบุคลากร และลักษณะขององค์การ และ ๕) สภาพแวดล้อม ได้แก่ สภาพแวดล้อมภายนอก  และสภาพแวดล้อมภายในองค์การ

References

กาญจนา วิเศษรินทอง. “การพัฒนาระบบการบริหารจัดการชั้นเรียน สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา”. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ๒๕๕๕.
การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง. http://pioneer.netserv.chula.ac.th. ออนไลน์วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๑.
พระสุรชัย สุรชโย (หงส์ตระกูล). “การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๐.
รสสุคนธ์ มกรมณี. การจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา. วารสารการศึกษาไทย. ๓๐, ๒๕๕๕.
รัตนา ยอดอานนท์. “การพัฒนาระบบการจัดสุขศึกษาตามหลักพุทธบริหารการศึกษา สำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙.
วิโรจน์ สารรัตนะ. ๒๕๔๕. กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ ๒๑. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน ๓๐. ๒๕๖๑. จาก http://www.the Partnership for 21st century skills-youtube.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ข้อมูลสารสนเทศขั้นพื้นฐานทางการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๒. ตราด : สำนักงานฯ, ๒๕๕๑.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30