การสำรวจเพื่อสร้างพิกัดทางภมิศาสตร์ การแปรรูปสารสกัดและพัฒนาผลติภัณฑ์สมุนไพร เครื่องยาทางการแพทย์ในเขตป่าเขาจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วรรณภา อ่างทอง สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
  • ทรงคุณ จันทจร มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
  • ระพีพันธ์ ศิริสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, สารสกัดสมุนไพร, ภูมิศาสตร์เขตป่าเขา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจสมุนไพรในเขตป่าเขาจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อสร้างพิกัดทางภูมิศาสตร์สมุนไพรในเขตป่าเขาจังหวัด ร้อยเอ็ด 3) เพื่อการแปรรูปสารสกัดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเครื่องยาทางการแพทย์ในเขตป่าเขาจังหวัดร้อยเอ็ด ใช้พื้นที่ในการวิจัยเป็นเขตป่าเขาจังหวัด ร้อยเอ็ด 4 อำเภอ คือ อำเภอหนองพอก อำเภอโพธ์ิชยั อำเภอเมียวดี อำเภอโพนทอง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ หมอพื้นบ้าน นักวิชาการ ประชาชนผู้ใช้สมุนไพรในเขต ป่าเขาจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 64 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ จำนวน 24 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 20 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยได้แก่ แบบสังเกต แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม เครื่องสมาร์ทโฟน อุปกรณ์ GPS เครื่องบันทึกเสียง ทำการเก็บรวบรวม ข้อมูลทั้งภาคเอกสารและภาคสนาม โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรม (Cultural Qualitative Research) นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. พืชสมุนไพรในเขตป่าเขาจังหวัดร้อยเอ็ด พบพืชสมุนไพรสำคัญ ในทั้ง 4 อำเภอ คือ เร็ว กระวาน ฟ้าทลายโจร ไพล ว่านสาวหลง 2. พิกัดทางภูมิศาสตร์สมุนไพรในเขตป่าเขาจังหวัดร้อยเอ็ดของพืชสมุนไพรสำคัญ ได้ดำเนินการสร้างด้วยวิธีการอ้างอิงบอกตำแหน่งเป็นค่าระยะเชิงมุม ของละติจูดและลองจิจูดตามระยะเชิงมุมที่ห่างจากศูนย์กำเนิดของละติจูดและลองจิจูดที่กำหนดขึ้นสำหรับศูนย์กำเนิดของละติจูด พบว่า เร็ว มีพิกัดละติจูด / ลองจิจูด : 16° 18' 13" N / 104° 13' 17" E กระวาน มีพิกัดละติจูด / ลองจิจูด : 16° 22' 18" N / 104° 6' 41" E ฟ้าทลายโจร มีพิกัดละติจูด / ลองจิจูด : 16° 18' 0" N / 103° 58' 40" E ไพล มีพิกัดละติจูด / ลองจิจูด : 16° 23' 22" N / 104° 9' 26" E ว่านสาวหลงมีพิกัดละติจูด/ ลองจิจูด : 16° 18' 18" N / 104° 13' 26" E 3. การแปรรูปสารสกัดสมุนไพรสำคัญ เร็ว ใช้วิธีการสกัดด้วยเอทานอล 95% พบสารที่สำคัญดังนี้ Propylene glycol 95.22% ,Camphor 1.88% ,Borneol 0.13% ,Bornyl acetate 2.77% กระวานใช้วิธีสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ พบสารที่สำคัญดังนี้ Alpha-Pinene 0.13% ,Beta-Pinene 0.10% ,Camphhene 0.12% ,Bata-Myrcene 2.70% ,2-Octanone 0.18% ,3-Octanol 0.29% ,(-)-beta-Pinene 0.29% ,Benzene,1-methyl-2-(1-methylethyl) 1.85% ,dl-Limonene 1.76% ,1,8-Cineole 0.85% ,Benzenemethanol 33.01 ,Linalool l 3.25,Trans-Anethole 11.73% ,Eugenol 41.74% ,alphaCaryophyllene 0.53% ฟ้าทะลายโจร ใช้วิธีสกัดน้ำที่ทำเป็นผงแห้งโดยใช้เครื่องทำให้เป็นผงแห้งโดยใช้ความร้อน สเปรดาย (Spray Dryer) พบสารที่สำคัญดังนี้ andrographolide ; AP1 , neo-andrographolide ; AP4 ,deoxyandrographolide, 14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide; AP3 ไพล ใช้วิธีสกัดโดย การกลั่นด้วยไอน้ำ (steam distillation) พบสารที่สำคัญดังนี้ (E)-4-(3,4’-dimethoxyphenyl)but-3-en-1-al ,phenylbutenoid dimers 2 ชนิด คือ (8)-trans-3- (2,4,5trimethoxyphenyl)-4-[(E)-3,4-dimethoxystyryl]-cyclohexene ulag cis-1,2-bis[(E)-3,4dimethoxy styryl] cyclobutane1 สาร phenylbutanoid monomers 4 ชนิด คือ (E)-4-(4-hydroxy-3-methoxyphenyl)but-3-en-1-yl-acetate , (E)-4-(4-hydroxy-3-methoxyphenyl)but-2-en-1-ol , (E)-2- hydroxy-4-(3,4-dimethoxyphenyl)but-3-en-1-al , (E)-2-methoxy-4-(3,4-dimethoxyphenyl)but-3-en-1-ol ว่านสาวหลง ใช้วิธีสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ พบสารที่สำคัญดังนี้ (E)- but-1-enyl-4-methoxybenzene 85% Limonene 2.2% β- pinene 2.1% Camphor 1.8%

          การแปรรูปสารสกัดสมุนไพรสำคัญ ประกอบด้วย แคปซูลเร็ว แคปซูลกระวาน แคปซูลฟ้าทะลายโจร น้ำมันไพล น้ำมันว่านสาวหลง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สมุนไพรสำคัญมีผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ น้ำมันเหลือง เครื่องเทศพะโล้ (เร็วกระวาน) น้ำหอมว่านสาวหลง ชาแก้หวัดฟ้าทะลายโจร

References

อมลวัทน์ แท่นคำ. (2562). การสำรวจผักพื้นบ้านในตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 7(2), 79-88.
สุภาภรณ์ สาชาติ. (2558). รายงานโครงการวิจัยและพัฒนา พืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีศักยภาพ. วารสารวิชาการ เกษตร. 5(5), 108-132.
เพ็ญนภา ทิพย์สุราษฎร์. (2559).การศึกษาพืชสมุนไพรท้องถิ่น และภูมปัญญาด้านการใช้พืชสมุนไพร กรณีศึกษา : อุทยาน แห่งชาติแก่งกรุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต). หาดใหญ่: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชนะชัย อวนวัง. (2562). ระบบการจัดเก็บคลังพืชสมุนไพรบน แผนที่ออนไลน์ในพื้นที่สวนสมุนไพร 90 พรรษาพระบารมีปกเกล้าประชารัฐร่วมใจถวายพ่อหลวง (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) จ.สกลนคร. (2555). คู่มือการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.).
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2561).โครงการศึกษาโอกาสทางการตลาดสมุนไพรไทย เป้าหมาย. ปทุมธานี: ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
นงลักษณ์ จิ๋วจู, ทิพย์วรรณ ศิบุญนันท์, ชญานันท์ ศิริกิจ เสถียร, วีรวรรณ แจ้งโม้, (2559). การพัฒนาการแปรรูปพืช สมุนไพรตามภูมิปัญญาท้องถิ่น จากทรัพยากรความ หลากหลายทางชีวภาพเพื่อพัฒนาเศรษกิจชุมชน กรณีศึกษา : บ้านโพธิ์พัฒนา ตำบล คณฑี อำเภอเมอืง จังหวัดกำแพงเพชร (รายงานการวิจัย). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฎ กำแพงเพชร.
วิริญญา เมืองช้าง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของ ประชาชนในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. (ปริญญา สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
กัญญารัตน์ เป็งงาเมือง, ธีรนาฎ จันสุตะ, โสมรัศมี แสงเดช, พรกรัณย์ สมขาว. (2562). การสำรวจการใช้สมุนไพรในชุมชน ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัย สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัชอุบลราชธานี. 8(2). 10-25
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2562). ผลการ ด าเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และผังแนวบริหารจัดการกองทุนฯปี 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.nhso.go.th/FrontEnd/pagecontentdetail.aspx?CatID=MTA4Mw==
พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์. (2562). โครงการ 9101 ต้นแบบ พัฒนาภาคการเกษตรชุมชนได้ประโยชน์. เข้าถึงได้จาก http://www.phetchabunradio.net/createpdf.php?mo= knowledge&id=522
ปรีชา วงศ์ทิพย์. (2560). การส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญา ด้านสมุนไพรของชุมชนบ้านแม อ าเภอสันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์สาร. 12(2), 86-101.
กระทรวงสาธารณสุขและองค์กรภาครัฐ. (2559). แผนแม่บท แห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560– 2564. นนทบุรี: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพฯ: ส านักนายก รัฐมนตรี.
อัจฉรา สุมังเกษตร,ชัยวัฒน์ นันทศรี. (2559). องค์ความรู ้ ภูมิปัญญาของหมอยาพื้นบ้าน กรณีศึกษา: อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุด. 9 (2), 74–79
ปรีดารัตน์ รัตนาคม. (2554). การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สมุนไพรแปรรูปและบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งเสริมอาชีพชุมชน. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
ทรงคุณ จันทจร. (2557). การวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรม (ภาคปฏิบัติ). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์
กลุ่มปฏิบัติการที่ 8 นบส.66. (2559). การเพิ่มมูลค่าสมุนไพร ไทยบนความหลากหลายทางชีวภาพ (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
“พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562”. ราชกิจจา นุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก 30 เมษายน 2562. หน้า121- 164.
เขตห้ามล่าสัตว์ผาน้ำทิพย์. (2561). สำนักบริหารจัดการใน พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 9 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เข้าถึงได้จาก http://www.dnp.go.th/Khonkaen/wildlife/pha.html.
องค์การบริหารส่วนตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. (2561). เข้าถึงได้จาก http://www.phanamyoi .com /index.php.
สุทธาสินี สุวรรณกุล. (2560). การทดสอบเบื้องต้นของสาร สกัดเร่วและสมุนไพรไทยอื่นอีก 5 ชนิดต่อการทำงานของ เอนไซม์ CYP3A4 จากไมโครโซมของตับหนู. วารสารเภสัช ศาสตร์อีสาน. 13(พิเศษ), 77-85.
พิบูล กมลเพชร, สมจิตร ปทุมานนท์, ประทีป เมฆประสาน, อุไรวรรณ เพิ่มพิพัฒน์, วัชรี ประชาศรัยสรเดช. (2562). ศึกษาการใช้สมุนไพรจากหมอสมุนไพรพื้นบ้านในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). สำนักหอสมุดแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก http://164.115.27.97 /digital/items/show/11814?
ทวีภรณ์ คีรีคช. (2562). การพัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์เจล ปรับอากาศว่านสาวหลง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 22(2), 98-104.
กล่าวขวัญ ศรีสุข และ เอกรัฐ ศรีสุข. (2558). การพัฒนาส่วน สกัดน้ำจากเร่วเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: แพทย์แผนไทย.
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2560). ฐานข้อมูลต ารับยาสมุนไพรในบัญชีหลักแห่งชาติ. เข้าถึงได้ จาก www.thai-remedy.com
กุสุมา ศรียากูล. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผล ของสารสกัดประสะไพลกับกรดเมฟีนามิกต่อการลดอาการ ปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิในผู ้ป่วย. (วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตร์สาธารณสุข). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30