การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร เทศบาลตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • กมลพร กัลยาณมิตร Bangkokthonburi University

คำสำคัญ:

การสร้างแรงจูงใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ

บุคลากรเทศบาลตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร  และเปรียบเทียบการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร เทศบาลตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร  จำแนกตาม เพศ  อายุ  ระดับการศึกษาสูงสุด  ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ในการทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400  ราย จากการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก  ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล  โดยเก็บแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ได้เพียง 367 ฉบับ  แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยใช้ค่าสถิติ  t-test  และ  F-test  ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า

การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร เทศบาลตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร  ได้แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย  ได้แก่ ปัจจัยจูงใจ  และปัจจัยเกื้อหนุน  ส่วนใหญ่มีระดับการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามปัจจัยจูงใจโดยรวมอยู่ในระดับ “สูง” มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.49  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.555  โดยมีระดับการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามปัจจัยเกื้อหนุนโดยรวมอยู่ในระดับ “สูง” มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.40  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.546

การเปรียบเทียบระดับการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร เทศบาลตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร  จำแนกตามตัวแปรอิสระ 6 ตัวแปร โดยเปรียบเทียบจากปัจจัยจูงใจทั้ง 5 ด้าน ซึ่งใช้การวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ  t-test  และ  F-test  ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ  Sig  =  0.05   สรุปผลวิจัยได้ว่า  เพศ  ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่ง  และประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร เทศบาลตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร ที่ไม่ต่างกัน  ส่วนอายุและรายได้เฉลี่ย  ที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร เทศบาลตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร ที่แตกต่างกัน

References

กมลพร กัลยาณมิตร. (2559). แรงจูงใจ 2 ปัจจัย พลังสู่ความสำเร็จ. บทความวิชาการ. วารสารวไลย
อลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 : กันยายน-ธันวาคม
2559.
โกวิทย์ พวงงาม. (2550 ก). การปกครองท้องถิ่นว่าด้วยทฤษฎี แนวคิดและหลักการ. กรุงเทพฯ:
เอ็กซ์เปอร์เน็ท.
กัตติกา อร่ามโซติ (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ทหารพราน กรมทหารพรานที่ 48. หลักสูตร ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ดาริกา ศรีพระจันทร์. (2553). องค์ประกอบที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน
เทศบาลตำบลในเขตอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ชาญยุทธ แคล้วปลอดทุกข์. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการของกอง พัน
ทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วรรณชรินทร์ จิตรสมัคร. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ: กรณีศึกษา
สำนักบริหารกลาง กรมป่าไม้. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.
วิทยา ทุมมาสุด. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจทางหลวงสถานีตำรวจ
ทางหลวง 1. สาขารัฐศาสตร์การปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.
ธวัลรัตน์ กิจพิบูลย์. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลแสนตุ้ง จังหวัดตราด. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
ภาครัฐและภาคเอกชน. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พะยอม วงศ์สารศรี. (2543). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิ
พระพงษ์ศักดิ์ สนุตมโน. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัชรี โพธิ์เปี้ยศรี. (2557). ปัญหาการบริหารงานของเทศบาลในเขตพื้นที่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัด
ร้อยเอ็ด. วารสารการเมืองการปกครอง ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 มีนาคม – สิงหาคม 2557.
ภูวนาถ เครือตาแก้ว. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจจราจร. สาขาวิชารัฐ ประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุรศักดิ์ นนทพรหม. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมกำลังพลทหารบก. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สุรีย์พร ทิ้งไชย. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อภิชัย คุณสุข. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธร จังหวัด ตราด. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและ
ภาคเอกชน. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Domjan, M. 1996. The Principles of Learning and Behavior. Belmont, CA: Thomson
/Wadsworth. P.199
Hanson, E. Mark. (1996). Educational Administration and Organizational Behavior. A Simon
& Schuster Company.
Herzberg, Frederick and Others. (1959). The Motivation to Work. New York : John
Wiley and Sons.
Holloway, William V. 1951. State and Local Government in the United States. Mc Graw-Hill,
New York.
Kidd, J. R. (1973). How Adults Learn. New York : Association Press.
Lovell, R. B. (1980). Adult Learning. New York: Halsted Press Wiley & Son.
William A. Robson. (1953). Local Government. In Encyclopedia of Social Science. New York:
The Macmillan.
Wit, Daniel. 1967. A Comparative Survey of Local Government and Administration.
Kurusapha Press, Bangkok.
Yamane, T. (1973). Statistics an Introduction Analysis . New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30