ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนอาชีวศึกษาตามหลักศีล ๕ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระครูสังฆรักษ์เดชกร เกรียงไกรกุล พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมศักดิ์ บุญปู่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พีรวัฒน์ ชัยสุข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ศีล ๕,อาชีวศึกษา, คุณลักษณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนอาชีวศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล กรุงเทพมหานคร ๒)ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนอาชีวศึกษาตามหลักศีล ๕ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล กรุงเทพมหานคร ๓)เสนอแนวทางคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนอาชีวศึกษาตามหลักศีล ๕ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Method Research) ระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitiative Research) และงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitiative Research) โดยใช้สถิติคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๗๕ คน

ผลการวิจัยพบว่า

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล กรุงเทพมหานคร ภาพรวม ๓ ด้าน อยู่ในระดับมาก แต่ละด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และด้านความรู้

ด้านความรู้ ตามหลักศีล ๕ ควรปลูกฝังให้นักเรียนอาชีวศึกษา มีจิตสำนึกในการแสวงความรู้ใหม่ ๆ คิดสร้างสรรค์สร้างนวัตกรรมในการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้อง ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้ ตามหลักศีล ๕ นักเรียนควรมีการนำทักษะความสามารถด้านวิชาชีพไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองสังคมและชุมชน ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามหลักศีล ๕ นักเรียนมีความคิดการปฏิบัติที่ดี สมาธิจิตที่ดีในการปฏิบัติตนต่อสังคมและชุมชนโดยให้ความรู้ความสามารถด้านวิชาชีพให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แนวทางคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนอาชีวศึกษาตามหลักศีล ๕ นักเรียนอาชีวศึกษาต้องหมั่นหาความสนใจใฝ่รู้ด้วยตนเอง แสวงหาประสบการณ์และค้นหาความรู้ใหม่ ๆปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางไว้ ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจ ปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบการพูดความจริง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตนเอง ไม่ทุจริตในการสอบ ไม่ลักขโมย แสดงความเคารพเป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทยมีสติและสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี ควบคุมกริยามารยาท งดเว้นแหล่งยาเสพย์ติดทั้งหลายในการปฏิบัติตน

References

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๔๕ ฉบับที่ ๓ ๒๕๕๓. ราชกิจจานุเบกษา.มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๒๘ ง ๑๘ กันยายน ๒๕๖๑.
พระอำนาจ อตฺถกาโม (น้อยนิล), “การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์บางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี”. วิทยานิพนธ์วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕).
พระมหาวิจิตร อินฺทธมฺโม (พิศเพ็ง). “แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะนักเรียนตามหลักกุศลกรรมบถ ๑๐ สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๖๑).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30