ศึกษาการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระสราวุฒิ สุวรรณชัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมศักดิ์ บุญปู่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรม, จิตอาสา, พัฒนาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จำแนกตามโรงเรียนและระดับชั้นเรียน และ ๓) เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Method Research) เป็นการผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitiative Research) และงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitiative Research) โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๕๕ คน

ผลการวิจัยพบว่า

ความคิดเห็นของนักเรียนภาพรวม ๕ ด้าน อยู่ในระดับมาก รายข้ออยู่ในระดับมาก คือ งานส่งเสริมสุขภาวะ งานพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและบริเวณใกล้เคียง งานทำความสะอาดสถานที่ใน งานจัดการขยะภายในโรงเรียน และข้ออยู่ในระดับต่ำสุด ได้แก่ งานสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้ ตามลำดับ

ผลเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับชั้นและโรงเรียน พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตอาสาของนักเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ผลการเสนอแนวทางแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร โรงเรียนจัดให้เด็กนักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำความสะอาดห้องเรียน มีถังขยะและมีนักเรียนมีการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะอย่างถูกวิธีกิจกรรมปลูกฝั่งด้านความซื่อสัตย์ และเห็นว่าคุณค่าของความซื่อสัตย์ต่อตน ต่อเพื่อน ผู้ปกครอง และต่อสถาบัน จัดกิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ปราศจากโรคภัยเรื่องของการดูแลสุขภาพตนเองให้มากขึ้น ร่วมมือกับชุมชนและมีจิตสำนึกที่ดีต่อโรงเรียนและส่วนรวมรักความสงบ เรียบง่าย ทำให้เข้าใจตนเอง และผู้อื่นไปด้วยอย่างสงบสุข

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ, (กรุงเทพมหานคร: วี พรินท์, ๒๕๕๒), หน้า ๒๔.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ, (กรุงเทพมหานคร: วีพีเอ ๑๙๙๑, ๒๕๕๒ ),หน้า ๑๘.
เตือนใจ ดีเทศน์, จิตอาสาคือการปฏิบัติธรรม, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.volunteerspirit.org/node/๗๘๖ [ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๒].
ธานินทร์ ศิลป์จารุ, การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ, พิมพ์ครั้งที่ ๙, กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักร์ จำกัด,๒๕๕๑.
ปิยะนาถ สรวิสูตร, แรงจูงใจของผู้นำเยาวชนที่มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม:กรณีศึกษา สภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร, “วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต”, (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.๒๕๕๒),บทคัดย่อ.
พรรณี กลั่นสนิท, “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เรื่องการจัดตำแหน่งที่ของข้อมูลที่โรงเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับวิธีเรียนแบบปกติ วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, ๒๕๕๗ , บทคัดย่อ.
พรรษา เอกพรประสิทธิ์, “ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี”, “วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา”, ๑๔,๑ (มกราคม – มิถุนายน) (๒๕๕๙)
มิชิตา รอดสุทธิ,“ผู้มีจิตอาสา” ,[ออนไลน์], แหล่งที่มา:http://www.vachiraphuket.go.th /www/volunte er/?name= know ledge&file=readknow ledge&id=4 [๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๒].
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐.
วราพร วันไชยธนวงศ์ และคณะ, “การพัฒนากระบวนการสร้างจิตอาสาของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่”, “วิทยานิพนธ์วิทยาลัยพยาบาลราชชนนี”, (เชียงใหม่: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), ๒๕๕๑), บทคัดย่อ.
ศิริลักษณ์ เลื่อนยศ, “การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการมีจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น” .วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ,๒๕๕๔, บทคัดย่อ.
ศุภลัก ร่วมจิตร, “ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี”. ปริญญาบริหารธุรกิจ การบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, ๒๕๕๖, บทคัดย่อ.
อนุพนธ์ คำปัน, “การศึกษาองค์ประกอบของจิตสาธารณะของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร”, ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต , วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.๒๕๕๘., บทคัดย่อ.
อรุณรัตน์ วงค์ฉายา, “การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดและจิตสาธารณะในวิชากิจกรรม การใชหองสมุดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่”. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๕๒, บทคัดย่อ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30