ค่านิยมมนตรยานในวิถีชีวิตของชาวพุทธในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปฏิภาณ โพธิวิพุฒ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

มนตรยาน, ชาวพุทธในประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะและความหมายของมนตรยาน 2) เพื่อศึกษาค่านิยมในมนตรยานของชาวพุทธในประเทศไทย 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าค่านิยมมนตรยานของชาวพุทธในประเทศไทย

       ผลการวิจัย พบว่า

(1) มนตรยาน หมายถึง ลัทธิความเชื่อที่มุ่งเน้นความศักดิ์สิทธิ์ ลี้ลับ เกิดจากเวทย์มนต์คาถาโดยผ่านพิธีกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะตน มีความพิเศษที่แตกต่างจากลัทธิอื่น ๆ คือนับถือพิธีกรรมที่มีความลึกลับมีขั้นตอนมาก การท่องบ่นสาธยายเวทย์มนต์คาถาอาคมบูชาสิ่งเร้นลับเวทย์มนต์คาถาบางบทก็มีความยาวมาก เวทย์มนต์คาถาบางบทก็มีเป็นเพียงหัวใจที่ย่อลงเพียงไม่กี่คำในการเพื่อให้เกิดอภินิหารบันดาลพรให้แก่ตนเอง ประสบกับผลสำเร็จตามที่ต้องการ

(2) ค่านิยมมนตรยานในประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับเอาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาจากเกาะลังกาจึงได้รับความเชื่อในลัทธิวัชรบรรพหรือมนตรยานนี้ติดเข้ามาด้วย ทั้งรูปแบบของความเชื่อด้านการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ และการสาธยายการเวทย์มนต์คาถาอาคมบทต่าง ๆ จะนิยมเป็นพระปริตรที่มาในพระสูตรต่าง ๆในพระไตรปิฎก เป็นภาษาบาลีที่เป็นธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าอันมีความหมายให้ผู้ฟังนำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์ความสุขแก่ผู้ประพฤติด้วยตนเองต่างจากเวทย์มนต์อาคมของมนตรยานดั้งเดิม

(3) การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จะประสบความสำเร็จได้ต้องมีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาประกอบเป็นเครื่องอำนวยอวยพรเป็นลำดับแรก อาทิ มงคลสูตรเมื่อผู้ฟังมากเข้าได้นำไปศึกษาก็จะทำให้พบกับหลักการดำเนินชีวิตที่จะนำไปสู่ความสุขพิธีบูชาพระเคราะห์หรือสวดนพเคราะห์ เพื่อให้เทวดาประจำกำลังวันเกิดอวยพรแก่ตนเองการเจริญพระพุทธมนต์พระปริตรบทต่าง ๆ มีการประพรมน้ำพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของกิจการตลอดถึงผู้มาร่วมในพิธีอีกด้วยนอกจากนี้ค่านิยมของมนตรยานเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธปฏิมา อาทิหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน พลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิงวรวิหาร หลวงพ่อโสธรพลวงพ่อวัดบ้านแหลม รวมถึงวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่เกิดลาภสักการะได้มีเงินหมุนเวียนกว่าหมื่นล้านบาทต่อปี นับเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดีโดยวัดก็ได้อาศัยนำปัจจัยที่ได้มาไปใช้ในการพัฒนาวัดส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร และคฤหัสถ์ ตลอดถึงโรงพยาบาลและสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์อีกมากมาย

References

1. หนังสือทั่วไป
กระทรวงวัฒนธรรม, พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2548.
กรมศิลปากร, จารึกสมัยสุโขทัย, กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากรจัดพิมพ์ในโอกาสฉลอง 700 ปี ลายสือไทย, 2527.
จํานงค์ ทองประเสริฐ, บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดีย เล่ม1 ภาค 1-4, ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานครกร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด อรุณการพิมพ์, 2540.
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (ษัฏเสน). พระพุทธศาสนาแบบทิเบต.กรุงเทพฯ: ส่องศยาม, 2538.
ดนัย ไชโยธา, พระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนาในประวัติศาสตร์, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2548.
ทวีวัฒน ปุณฑริกวิวัฒน์, วิถีแห่งมหายาน,,กรุงเทพมหานคร: บริษัทลิ้นจี่การพิมพ์ จํากัด, 2526.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น. กทม. สุขภาพใจ. 2545.
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา, ปรัชญาอินเดีย,กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ โอเดียนสโตร, 2555.
ธนู แก้วโอภาส, ศาสนาโลก, กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์สุขภาพใจ, 2542.
ธนิต อยู่โพธิ์,อานุภาพพระปริตร,กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2537.
ธวัช เฟื่องประภัสสร์, พระฎีกาพาหุง ชัยชนะของพระพุทธเจ้า, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณศิลป์, 2516.
นนท์ ธรรมสถิตย์, พระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ไทย, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เอดิสัน, 2533.
บุญมี เมธางกูร, ตีแผ่ไสยศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์,กรุงเทพมหานคร,อภิธรรมมูลนิธิ, 2522.
ประยงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม.โอเดียนสโตร์. 2548.
ประพัฒน์ ตรีณรงค์, สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์, พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดอุดมศึกษา, 2507.
พลูหลวง, 7 ความเชื่อของไทย (คติสยาม), กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ, 2546.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554.
พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ,พุทธานุภาพ,กรุงเทพมหานคร,โรงพิมพ์เสริมวิทยบรรณาคาร, 2507.
พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต),จาริกบุญจาริกธรรม,กรุงเทพมหานคร,โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา,2554.
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อานุภาพพระปริตร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2548.
พระคันธสาราภิวงศ์, พระปริตตธรรม, ลำปาง : จิตวัฒนาการพิมพ์, 2541.
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ, อารยธรรมพระพุทธศาสนาในทิเบต, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2547.
พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ), ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2543.
โพธิ์ แซมลำเจียก, 8 มหาราชของไทย, พระนคร : โรงพิมพ์ธรรมบรรณาคาร, 2506.
พิฑูร มลิวัลย์,ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา,ครั้งที่๒, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, 2533.
เริง อรรถวิบูลย์, พิธีธรรมเนียมสงฆ์, กรุงเทพมหานคร : ป.พิศนาคะการพิมพ์, 2516.
วีระเชษฐ์ ผ่องพันธ์, พลังสวดมนต์บำบัด, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ One World, 2548.
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร), ตํานานพระปริตร, กรุงเทพมหานคร : ธีรพงษ์การพิมพ์, 2538.
เสถียร พันธรังสี, ศาสนาเปรียบเทียบ, ร.ส.พ.เชิงสะพานเยาวราช,ธนบุรี, 2506.
เสถียร โพธินันทะ. ปรัชญามหายาน,พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2548.
สมภาร พรมทา, พุทธศาสนามหายานนิกายหลัก,สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักพิพมพ์บรรณาคาร, 2540.
เสถียรพงษ์ วรรณปก, ความ (ไม่)รู้เรื่องพระพุทธศาสนาในภูฏาน, กรุงเทพมหานคร, อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2540.
เสถียร โกเศศ, ลัทธิของเพื่อนฉบับสมบูรณ , พระนคร, สํานักพิมพ์ ก้าวหน้า, 2507.
ส.ศิวลักษณ์, ความเข้าใจเรื่องมหายาน, กรุงเทพมหานคร, บริษัทส่องสยาม จำกัด, 2542.
สุลักษณ์ ศิวรักษ์. พุทธศาสนาตันตระหรือวัชรยาน. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย, 2542.
แสง จันทร์งาม, ศาสนศาสตร์ (The Science of Religion), กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จํากัด, 2531.
สนิท ศรีสําแดง,พระพุทธศาสนากระบวนทัศน์ใหม่, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2544.
สิริ เปรมจิตต์,พระพุทธศาสนาในประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บํารุงนุกูลกิจ, 2522.
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ชุมนุมพระนิพนธ์เกี่ยวกับตำนานพระพุทธศาสนา ตำนานพระปริตต์, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2514.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง, พุทธธรรมที่เป็นรากฐานสังคมไทยก่อนสมัยสุโขทัยถึงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง, กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2535.
สุเนตร ชุตินธรานนท์, สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 ศึกษาจากพงศาวดารพม่าฉบับราชวงศ์คองบอง, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม. 2544.
อุดม บัวศรี, วัฒนธรรมอีสาน, ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2546.
เอ็ดเวอร์ด โคนซ์, พุทธศาสนประวัติสังเขป, กรุงเทพมหานคร : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย, 2544.
อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสตร์. พระพุทธศาสนามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กทม. มหามกุฏราชวิทยาลัย. 2539.
2.วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
พระครูวชิรโชติธรรม, แนวคิดเรื่องไสยศาสตร์ที่ปรากฏ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท,ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช, 2555.
พระพิษณุพล สุวณณรูโป (รูปทอง), การศึกษาหลักพุทธธรรม และคุณค่าที่ปรากฏในยันต์เทียนล้านนา กรณีศึกษาเฉพาะในเขตอําเภอเมือง จังหวัดลําปาง, ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554.
พระวิมาน คมภีรปญโญ (ตรีกมล), อิทธิพลของตันตระที่มี ต่อพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย, ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2548.
นางสาวพราห์มมร โล่สุวรรณ, การศึกษาเรื่องการสวดมนต์ที่มีผลตอการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ พุทธศาสนิกชนในสังคมไทย : เพื่อศึกษาพุทธศาสนิกชน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก, ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช, 2556.
พันเอกเกื้อ ชัยภูมิ, รูปแบบการสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท,ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช, 2556.
พระมหาชลทิช จันทร์หอม. การศึกษาวิเคราะห์พิธีสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทญยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2543.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30