การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท

ผู้แต่ง

  • นนทรัตน์ วงศ์ปทุม Wat Phathumwanaram
  • พระมหาบุญไทย ปุญฺญมโน

คำสำคัญ:

การศึกษาเชิงวิเคราะห์, จริยศาสตร์, คัมภีร์ธรรมบท

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยค้นคว้าและรวบรวมแนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา และศึกษาเอกสารทางวิชาการ ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. คัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา เป็นกลุ่มคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อหากะทัดรัด และมีเรื่องราวประกอบคำอธิบาย ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงการเรียนรู้ชีวิตชี้แนะแนวทางการประพฤติตนของพุทธบริษัทให้เข้าใจและถึงแก่นธรรมของพระองค์ โดยทรงพิจารณาตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคล คำสอนที่ทรงแสดงนั้น เป็นไปเพื่อความสุขสงบทั้งแก่ผู้ปฏิบัติและแก่ผู้อื่น
  2. จริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา มีแนวคิดแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับมูลฐาน คือ ศีล 5 และเบญจธรรม 2) ระดับกลาง มีการประพฤติชอบทางกาย การประพฤติชอบทางวาจา และการประพฤติชอบทางใจ 3) ระดับสูง คือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งจิตมั่นชอบ
  3. แนวคิดทางจริยศาสตร์ในคัมภีร์ธรรมบท พร้อมทั้งอรรถกถา มีหลักธรรมที่แยกแยะความดี-ความชั่วได้ชัดเจน สิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยค้นพบคือวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดความเร้าร้อนในระดับพฤติกรรม ความรู้สึก และแนวความคิด หากนำวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำย่อมสามารถแก้ปัญหาความเดือนร้อนวุ่นวายใจและความไม่สงบในสังคมได้ และพบว่า บุคคลควรมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตไปในทิศทางที่ดี ครั้นมีเป้าหมายดีแล้วย่อมประครองชีวิตให้ดำเนินไปสู่วิถีอันสิ่งดีงาม ผลดีก็ย่อมบังเกิด ความเป็นอยู่ปัจจุบันก็ไม่เดือดร้อนใจ และเมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมเกิดในสุคติภพ หรือไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏคือบรรลุพระนิพพานในที่สุด

References

1. ภาษาไทย
1.1 เอกสารปฐมภูมิ
มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2556). พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2556). พระไตรปิฎกและอรรถกถา แปล (91 เล่ม) ฉบับ 200 ปีแห่งราชวงศจักรี กรุงรัตนโกสินทร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
1.2 หนังสือทั่วไป
กรมการศาสนา. (2525). ประวัติพระพุทธศาสนาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ภาค 1. กรุงเทพฯ: กรมศาสนา.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. 2560), นวโกวาท (หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี). (พิมพ์ครั้งที่ 84. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระมหาโพธิวงศาจารย์. (2558). วิเคราะห์ศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : เลี่ยงเชียง.
พระธรรมกิตติวงศ์. (2556). คำวัด. กรุงเทพฯ : เลี่ยงเซียง.
พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล). (2538). ธรรมสมบัติ คาถาธรรมบทแปล มีเรื่องปรารภนำ. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
รศ. ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์ ผศ.ดร.พระมหามฆวินทร์ ปริสุตฺตโม. (2561). ทฤษฎีและปัญหาจริยศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท.
รศ.วิทยากร เชียงกูล. (2556). ธรรมบททางหลุดพ้นจากบ่วงทุกข์. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
รังษี สุทนต์. (2544). คัมภีร์เรียนภาษาบาลีและผู้รจนา. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 255. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2525). ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมิทธิพล เนตรนิมิตร. (2555). อัญมณีล้ำค่าในอรรถกถาธรรมบท. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
ปิยนาถ (นิโครธา) บุนนาค. (2534). ประวัติศาสตร์และอารยธรรมของศรีลังกา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระสารีบุตรเถระ ชาวลังกา. (2542). พระคัมภีร์สารัตถทีปนี (แปล) ภาค 1 แปลโดย นายสิริ เพ็ชรชัย ป.ธ. 9. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
กีรติ บุญเจือ. (2538). จริยศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วศิน อินทสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: ทองกราว.
เดือน คำดี. (2534). พุทธปรัชญา. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
ผศ.บุญมี แท่นแก้ว. (2550). จริยศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ดร. เค. เอ็น. ชยติลเกเล. (2537). จริยศาสตร์แนวพุทธ. (สุเชาวน์ พลอยชุม, เรียบเรียง). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมัคร บุราวาศ. (2552). ปรีชาญาณของสิทธัตถะ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศยาม.
ฌานิศ วงศ์สุวรรณ. (2546). การศึกษาเรื่องพุทธวรจนะในธรรมบท ของ เสฐียรพงษ์ วรรณปก. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัฒกร เรืองจินดาวลัย. (2547). การุณยฆาตและความตายในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ละอองดาว นนทะสร. (2553). อุทานวรรคสันสกฤตกับธรรมบทบาลี : การศึกษาเปรียบเทียบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกศนี นุชทองม่วง. (2556). อรรถกถาธรรมบท : การศึกษาในฐานะวรรณกรรมคำสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
1.3 วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์
พระมหาสำเนียง เลื่อมใส. (2534). การศึกษาเปรียบเทียบธรรมบทและภควคีตา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระมหาทวี มหาปญฺโญ. (2545). การศึกษาวิเคราะห์พุทธวิธีการสอนในธัมมปทัฏฐกถา. วิทยานิพนธ์ ศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกฎราชวิทยาลัย.
พระมหาจำรัส เขมโชโต (บุดดาพงษ์). (2545), การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดทางจริยศาสตร์ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทกับศาสนาฮินดู, วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาทรรศน์ คฺณทสฺสี (โพนดวงแก้ว). (2546). การศึกษาเปรียบเทียบพุทธวิธีการสอนในอรรถกถาธรรมบทกับกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล. (2547). การกระทำเหนือหน้าที่ในทฤษฎีจริยศาสตร์ร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระมหาสมเจต สมจารี (หลวงกัน). (2561). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดพุทธภาวะในพุทธปรัชญา. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระประยูร จีนา. (2546). การแนะแนวของพระพุทธเจ้าในอรรถกถาธรรมบท. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระชุติพงศ์ สนฺตจิตฺโต (งามดี). (2557). การศึกษาเปรียบเทียบหลักอหิงสาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาเชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30