แนวคิดการสร้างสันติภาพตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท
คำสำคัญ:
การสร้างสันติภาพ, พุทธปรัชญาเถรวาทบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “แนวคิดการสร้างสันติภาพตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสันติภาพทั่วไป 2) เพื่อศึกษาสันติภาพในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อบูรณาการแนวคิดการสร้างสันติภาพตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่อง “แนวคิดการสร้างสันติภาพตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท” งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และแบบพรรณนา (Descriptive Research) โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก และการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth-Interview) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์และนำเสนอในเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า :
- 1. แนวคิดเรื่องสันติภาพทั่วไป เป็นเรื่องของการแสวงหาสันติภาพ จากสถานการณ์โลกปัจจุบันที่กำลังเผชิญปัญหาความขัดแย้งมากมาย การสร้างสันติภาพยังไม่ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหวังของชาวโลก สาเหตุที่ทำให้ไม่เกิดสันติภาพ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) เหตุแห่งความขัดแย้งด้านความคิด 2) เหตุแห่งความขัดแย้งด้านค่านิยม 3) เหตุแห่งความขัดแย้งด้านพฤติกรรม
- 2. สันติภาพในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักพุทธธรรมที่นำมาเพื่อใช้สร้างสันติภาพตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ได้แก่ 1) สัมมาทิฏฐิ ว่าด้วยความเห็นถูกต้อง 2) หลักพรหมวิหาร 4 ว่าด้วยคุณธรรมของจิตใจ 3) หลักศีล 5 - ธรรม 5 ว่าด้วยหลักพึงประพฤติปฏิบัติ
- 3. แนวคิดการสร้างสันติภาพตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท สามารถทำได้ ดังนี้ 1) บูรณาการการสร้างสันติภาพด้วยหลักสัมมาทิฏฐิกับประเด็นเหตุแห่งความขัดแย้งด้านความคิด 2) บูรณาการการสร้างสันติภาพด้วยหลักพรหมวิหาร 4 กับประเด็นเหตุแห่งความขัดแย้งด้านค่านิยม 3) บูรณาการการสร้างสันติภาพด้วยหลักศีล 5 - ธรรม 5 กับประเด็นเหตุแห่งความขัดแย้งด้านพฤติกรรม
- 4. องค์ความรู้ใหม่เรื่อง “แนวคิดการสร้างสันติภาพตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท” ได้แก่ G-KMB Model to Peace
GK ย่อมาจาก Good Knowledge หมายถึง ความรู้ดี เกิดปัญญาเป็นสัมมาทิฏฐิ
GM ย่อมาจาก Good Mind หมายถึง จิตใจดี มีคุณธรรมสูงเป็นพรหมวิหารธรรม
GB ย่อมาจาก Good Behaviour หมายถึง ประพฤติดี ตั้งอยู่ในศีลธรรม
ดังนั้น G-KMB Model to Peace จึงเป็นหลักการที่เกิดจากแนวคิดการสร้างสันติภาพตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เมื่อนำไปใช้แล้วทำให้ 1) บุคคลหรือส่วนตนมีความรู้ดี เกิดปัญญาเป็นสัมมาทิฏฐิสามารถระงับประเด็นเหตุแห่งความขัดแย้งด้านความคิด 2) สังคมหรือส่วนรวมจิตใจดี มีความเมตตาเกื้อกูลต่อกันสามารถระงับประเด็นเหตุแห่งความขัดแย้งด้านค่านิยม และ 3) การพัฒนาพฤติกรรมดีตั้งอยู่ในศีลธรรมไม่เบียดเบียนกันสามารถระงับประเด็นเหตุแห่งความขัดแย้งด้านพฤติกรรม กล่าวโดยสรุป คือ G-KMB Model to Peace เป็นแนวคิดการสร้างสันติภาพตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ก่อให้เกิดสันติภาพในตน สันติภาพในสังคม สันติภาพในโลก และพัฒนาตนสู่สันติภาพสูงสุดได้
References
ธนู แก้วโอภาส. เหตุการณ์สำคัญที่สุดของโลกในศตวรรษที่ 20 ศตวรรษแห่งสงคราม. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ. 2549.
พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร. ศีล 5. นครปฐม : สาละพิมพการ. 2558.ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊ค
พับลิเคชั่นส์. 2556.
วศิน อินทสระ. ธรรมและทรรศนะชีวิต. กรุงเทพมหานคร : รีโนวา. ม.ป.ป.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 40). กรุงเทพฯ : ผลิธัมม์. 2561.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 33).กรุงเทพฯ : ผลิธัมม์. 2561.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย (พิมพ์ครั้งที่ 47). กรุงเทพฯ : ผลิธัมม์.2561.
สุเชาวน์ พลอยชุม และสุวิญ รักษ์สัตย์. สารัตถะวิชาการพุทธปรัชญา. นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏ ราชวิทยาลัย. 2555.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์