การพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรม
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, การพัฒนา, คุณธรรม, พฤติกรรม, ปัญญาบทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูต ๓) เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตด้วยหลักพุทธธรรม ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบและองค์ความรู้ใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรม ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการสัมภาษณ์พระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนำเสนอในรูปแบบการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยต้องเป็นไปตามหลักโอวาทปาฏิโมกข์ คือ พระธรรมทูตต้องมีภาวะผู้นำในการไม่ทำความชั่วทั้งปวง มีภาวะผู้นำในการทำความดี และ มีภาวะผู้นำในการทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
๒) หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของพระธรรมทูตได้แก่ สัปปุริสธรรม กัลยาณมิตตธรรม พรหมวิหารธรรม และคุณสมบัติของพระธรรมทูต ๘ ประการ คือ รู้จักฟัง พูดให้ผู้อื่นฟังได้ ใฝ่ศึกษา มีความจำดี เป็นผู้รู้แจ้งชัดเจน มีความสามารถอธิบายความให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ฉลาดในการเป็นผู้นำ และไม่ก่อการทะเลาะวิวาท
๓) พระธรรมทูตจะพัฒนาภาวะผู้นำของตนเพื่อความสำเร็จในการทำหน้าที่ของพระธรรมทูตได้โดย (๑) บูรณาการหลักกัลยาณมิตรในการแสวงหาแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี (๒) บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการสร้างวินัยเพื่อการพัฒนาชีวิต สร้างสรรค์งาน ฝึกฝนตนเอง ยึดหลักความมีเหตุผล ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท และ (๓) บูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อให้เกิดความคิดที่แยบคายในการทำหน้าที่
๔) การพัฒนาภาวะผู้นำของพระธรรมทูตในประเทศไทยด้วยหลักพุทธธรรมสามารถสรุปเป็น LDMBW Model ซึ่งมาจาก Leadership, Development, Morality, Behavior, and Wisdom.
References
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คู่มือพระธรรมทูต, (๒๕๕๑). ฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา กองพุทธศาสนาศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนา
แห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ชูชัย สมิทธิไกร. (๒๕๓๗). จิตวิทยาการฝึกอบรม, คณะมนุษยศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐนรี ศรีทอง. (๒๕๕๒). การเพิ่มศักยภาพภาวะความเป็นผู้นำในงานพัฒนาชุมชน, กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
บรรจบ บรรณรุจิ, ๒๕๔๔, ๒๕๔๔). อสีติมหาสาวก.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระธรรมปิฎก (ป.อ ปยุตโต). (๒๕๓๗). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พุทธธรรม.
พระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏโ ป.ธ.๙), เทคนิคการอบรมชาวบ้าน เอกสารประกอบการ บรรยาย, การฝึกอบรม
พระธรรมทูต รุ่นที่ ๔๓ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๑, สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูต กองงานพระธรรมทูต วัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.
พระมหาประสิทธิ์ รวมพิมาย. (๒๕๓๘). “บทบาทของพระธรรมทูตภายในประเทศ”, วิทยานิพนธ์สังคม
สงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สง่า พิมพ์พงษ์. (๒๕๕๐). ฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนา
แห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์