การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • กฤชนก เซี่ยงเท็ญ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พจมาลย์ สกลเกียรติ

คำสำคัญ:

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  3)  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลปราณี อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random Sampling ) นักเรียนทั้งหมด 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมืองโดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ (2)  แบบวัดความสามารถในคิดวิเคราะห์ (3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test for One Simple และ t-test for Dependent Samples 

           ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาหน้าที่พลเมือง โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม มีนักเรียนผ่านเกณฑ์คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 จำนวน 27 คน และนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 4 คน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  2)  คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียน  (  = 17.16, S.D. = 2..08 ) สูงกว่าก่อนเรียน (  = 14.55 , S.D. = 2.58)  โดยค่า sig.=0.00  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจความพึงพอใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.32, S.D.= 0.27) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดไว้

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ
: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. เอกสารชุดแนวทาง
ปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.
กล่อมจันทร์ จันทรศิริ. (2556). เว็บช่วยสอนแบบสตอรี่ไลน์เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย
ของนักเรียนไทยในโรงเรียนนานาชาติระดับ MiddleSchool (Grade 8). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาเทคโนโลยีและ สื่อสารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จิตราพร ลีละวัฒน์. (2556). รายงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเรื่องการพัฒนาภารกิจปฏิบัติ เพื่อ
เสริมสร้างความคิดวิเคราะห์ให้กับนักศึกษาในรายวิชาจริยธรรมทางธุรกิจ(BUS 400) กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นงลักษณ์ ตันอิ่ม. (2554). รายงานการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 8
ประการ กลึ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา สำนักงานเขตประเวศ. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ.

น้องนาง ปรืองาม (2553). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายวิชาเคมี เรื่อง กรด-เบสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนิคมพิมายศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น : ขอนแก่น.
ปนัดดา โภคพิพัฒน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แบบเคืนเรื่องที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี :จันทบุรี.
พัชรินทร์ ทิติยา. (2562). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้
กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAIของนักเรียน
ประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วีนัส อยู่แย้ม. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการสอนสตอรี่ไลน์ เรื่อง สารและการ
เปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญา). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
วลัย พานิช. (2543). “การสอนด้วยวิธีสตอรี่ไลน์” นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูยุคปฏิรูป
การศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
เป็นสาคัญ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัลยา ดวงใจ. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้พระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนแบบสตอรี่ไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2555-2559. กรุงเทพฯ: บริษัทหวานกราฟิก จำกัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนว
ทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง.กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561).
สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลกพ.ศ.2559/2560. กรุงเทพฯ: บริษัทหวานกราฟิก จำกัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนว
ทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง.กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อริย์ธัช ฉ่ำมณี. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์โดยประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์วิชา
ประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Cleave. (1997). Methods of using nucleotide integrase for cleaving dna and attack acids.
Dissertation Abstracts International, 40-1 1 A. 1063.
Cooper, J. A. (1998). Cognitive engagement in a sixth-grade social studies class.
Dissertation Abstracts International, 60(03), 634-A. (UMI No.9923898).
Forlag, K. (2000). Storylinebogen. สืบค้นได้จาก : http://www.kroghsforlag.dk/ storyline/
html/storylinebogen.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล 2 พฤศจิกายน 2563).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30