การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นของครูต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรีจำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์การทำงาน
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรประกอบด้วยครูผู้สอนในโรงเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี จาก 32 โรงเรียน จำนวน 1,294 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ(Stratified Random Sampling) จำนวน 297 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้น ได้แก่ (1) ศึกษาปัญหาการวิจัย (2) การออกแบบการวิจัย (3) การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล (4) การเขียนรายงานการวิจัย เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าทีแบบ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า: 1) ความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2)ผลการเรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรตามตามการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ พบว่า (2.1)ความคิดเห็นของครูผู้สอนเพศชายและความคิดเห็นของครูผู้สอนเพศหญิงต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรีแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 (2.2)ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีคุณวุฒิการศึกษาปริญญาตรีและความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีคุณวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรีแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 (2.3)ความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน
References
คนอง ศรีสรณ์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
จิรารัตน์ เขียนรูปครุฑ. (2558). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จุฑา เทียนไทย. (2547). การจัดการมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพฯ: ท้อป.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 16 กันยายน 2562, จาก http://www.edu.ksu.ac.th
ชัยเสฏฐ์ พรหมศ. (2549). สุดยอดผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ชาคริส พรมมหาชัย. (2554). ความพึงพอใจของครูต่อวิธีการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ ชีเอ็ดยูเคชั่น.
ทักษิณ ภูบัวเพชร.(2554). พฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
นุตประวีณ์ เบาเนิ้ด (2555). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร.วิทยนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.
ปิยะรัตน์ โสภา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารกับสุขภาพองค์การของโรงเรียนสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา ในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
มิ่งขวัญ พงษ์สถิตย์. (2556). การจัดการความขัดแย้งภายในองค์กร. สืบค้น 14 กันยายน 2562, จาก http://www.oia.coj.go.th.
วันชัย วัฒนศัพท์ และรัตนาภรณ์ วัฒนศัพท์. (2552). การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา. กรุงเพทฯ:สถาบันประปกเกล้า.
สุพพตา เจนสมบูรณ์. (2547). วิธีการแก้ไขความขัดแย้งตามแบบของโธมัส-คิลแมนน์ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา 2 กรุงเทพมหานคร . สถาบันราชภัฏจันทรเกษม/กรุงเทพฯ.
สมพร เฟื่องจันทร์.(2547). แนวคิดและหลักกจัดการในองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สยุมพร ธาวิพัฒน์.(2550). การศึกษาการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์ มหาบัณฑิตสาขา บริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สร้อยตระกูล อรรถมานะ. (2550). พฤติกรรมองค์การทฤษฎีและการประยุกต์,พิมพ์ครั้งที่ 4กรุงเทพฯ: มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์.
สุกานดา รอดสุโข. (2554). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต1.วิทยนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2553). การบริหารความขัดแย้ง. สืบค้น 14 กันยายน 2562, จาก http:// www.edu2.stou.ac.th.
อรสา คาแสน. (2554). “การบริหารความขัดแยงของผูบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1”. วารสารสังคมศาสตรวิจัย, 2(2), 94-111.
อัคร พิชากุล.(2559). “การศึกษาแบบพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3”. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์,11(1), 295-304.
Bradley, Deanya Nadyne.(1984). A Comparative Study of the Conflict Management Style Uses by Woman and Men in Middle Management in the Denver Metropolitan Area. Dissertation Abtracts International. 1984), 66.)
Khamsaen, O. (2011). Conflict Management of Schools Administrators under the Office of Uttaradit Primary Educational Service Area 1. Journal of Social Sciences Research, 2(2), 94-111.[In Thai]
Khianrupkhrut, J. (2015). Conflict Managenent Administrators under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3. Master's thesis, Burapha Universit). [In Thai]
Malamed and Reiman, James C. Malamed and John W. Reiman (1999) Collabalation and Confiet resolution in education . Jounal Citation : High school magazing.
Phongsathit, M. (2013). Conflict management within the organization. Retrieved 14 September 2019,from http://www.edu.ksu.ac.th. [In Thai]
Robbins, Stephen P. (2001) Organizational Behavior : Concetroversies and Application.Ed. Englewood Cliffs, N.J. : Prentice-Hall, 2001.
Thomas, Kenneth W. (1976). Conflict and Conflict Management in Handbook of Industrial and Organizational Psychology. ed. Marvin D. Dunnette. Chicago: Rand McNally, 1976.
Thomas, Kenneth W. and Ralph H. Kilmann. (1987). Thomas-Kilmann Conflict Mode Interest. 27th New York: XICOM Incoporated, 1987.
Thongphuban, W. & Akkharaphichakun, O. (2016). “The Study of Conflict on Behavior Management Style of Schools Administrators under Buriram Primary Educational Service area 3”. Journal of the Development and Development Valaya Alongkorn under the royal patronage,11(1),295-304. [In Thai]
Welt, Ellen S. (2012). Confict management styles of middle school principals compared to comprehensive high school principal, accessed 4 May 2012. Available from http://www.lib.umi.com.Abstract from: Proquest file: Dissertation Abstract Item: AAT 9971820.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์