ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านเพจเฟซบุ๊ก ของผู้บริโภคในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธานี พุ่มบัว Rangsit University
  • สุมามาลย์ ปานคำ

คำสำคัญ:

คุณค่าที่ลูกค้าได้รับ, คุณค่าตราสินค้า, ความตั้งใจซื้อ, เพจเฟซบุ๊ก, สินค้าแฟชั่น

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในประเทศไทย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านเพจเฟซบุ๊ก BOO Brandname - สินค้าแบรนด์แท้มือ1 และพักอาศัยในประเทศไทย จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้างใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเพื่อหาเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุของตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ตัวแปร ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้คุณสมบัติ 2) ด้านคุณค่าที่ลูกค้าได้รับ 3) ด้านคุณค่าตราสินค้า และ 4) ด้านความตั้งใจซื้อสินค้า และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (χ2) = 154.69, ค่า CMIN/df = 0.97, ค่าองศาอิสระ (df) = 160, ค่า GFI = 0.93, ค่า = AGFI 0.91, ค่า SRMR = 0.05, ค่า RMSEA = 0.00 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.91 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในประเทศไทย ได้ร้อยละ 91 และปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้ามีอิทธิพลทางตรงมากที่สุดต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านเพจเฟซบุ๊ก ผลลัพธ์ในการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจธุรกิจจำหน่ายสินค้าแฟชั่นผ่านเพจเฟซบุ๊ก สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการทำธุรกิจหรือพัฒนาร้านค้าของตนเองให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

 

คำสำคัญ: คุณค่าที่ลูกค้าได้รับ, คุณค่าตราสินค้า, ความตั้งใจซื้อ, เพจเฟซบุ๊ก, สินค้าแฟชั่น

References

บรรณานุกรม

กริช แรงสูงเนิน. (2554) การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จารุภัค อธิวัฒน์ภิญโญ, มนฑิรา ธาดาอำ นวยชัย และปีเตอร์ รุ่งเรือนกานต์. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมการธำรงรักษาของกลุ่มแฟนคลับนักร้องเกาหลีในประเทศไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(1), 220-229.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. จ.ตาก: บริษัท โพรเจ็คท์ ไฟฟ์-ไฟว์ จำกัด.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุ่น หนาน ซุน. (2559). การรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผักและผลไม้ออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รุ่งนภา บริพนธ์มงคล และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). การรับรู้คุณภาพสินค้าและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำเครื่องทำความสะอาดอุตสาหกรรม. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 116-179.

ศศินภา เลาหสินณรงค์. (2557). คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ (ความตั้งใจ ความสนใจ ความต้องการ และการตัดสินใจซื้อ) สินค้าแบรนด์เนมแท้. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อธิบดี คำเจริญ และสุมามาลย์ ปานคำ. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อครีมยูมิกซ์ สกินแคร์ ผ่านเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารศิลปการจัดการ, 5(1), 341-354.

AUN Thai Laboratories. (2020). E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) คืออะไร ใช้กลยุทธ์การตลาดโปรโมทสินค้าอย่างไรให้ขายได้. [ออนไลน์], 1 พฤศจิกายน 2563 แหล่งที่มา https://seo-web.aun-thai.co.th/blog/marketing-blog-ecommerce-strategy/

Chao, Ren – Fang. (2016). “The Impact of Brand Image and Discounted Price on Purchase Intention in Outlet Mall: Consumer Attitude as Mediator.” The Journal of Global Business Management,, Vol. 12, No. 2.

Eunha Choi a, Eunju Ko a, Angella J. Kim. (2016). Explaining and predicting purchase intentions following luxury-fashion brand value co-creation encounters. Republic of Korea: Journal of Business Research, Yonsei University.

Hootsuite and We are social. (2020). DIGITAL 2020: THAILAND. [ออนไลน์], 1 พฤศจิกายน 2563 แหล่งที่มา https://datareportal.com/reports/digital-2020-thailand

Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling. (ed 3 rd). New York: The Guilford Press.

Thumbsup Media. (2019). Summary of Facebook User Statistics in Thailand. [ออนไลน์], 1 พฤศจิกายน 2563 แหล่งที่มา www.thumbsup.in.th/facebook-thailand-insight

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30