แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรวเรียนบ้านยางสูง

ผู้แต่ง

  • วัชริศ เจริญกุล การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มัทนา วังถนอมศักดิ์ การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานครู, โรงเรียนบ้านยางสูง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านยางสูง และ 2) เพื่อทราบแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านยางสูง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ข้าราชการครูโรงเรียนบ้านยางสูง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามแนวคิดของบาร์นาร์ด (Barnard) โดยเป็นแบบสอบถามชนิดจัดลำดับคุณภาพ 5 ระดับของลิเคิร์ธ (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

  1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านยางสูงโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ได้แก่ สภาพการอยู่ร่วมกัน การปรับสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับวิธีการและทัศนคติของบุคคล ผลตอบแทนทางอุดมคติ สภาพทางกายภาพที่พึงปรารถนา ความดึงดูดใจเชิงสังคมต่อหน่วยงาน การมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างกว้างขวาง สิ่งจูงใจที่เป็นวัตถุ และสิ่งจูงใจที่เกี่ยวกับโอกาสของบุคคล
  2. แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านยางสูง มีหลายแนวทาง เช่นโรงเรียนควรมีการวางแผนรายงานการปฏิบัติงานให้ชัดเจนและมีผลต่อการให้เงินเดือนอย่างเป็นธรรม โรงเรียนควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ครูได้แสดงผลงาน แล้วมอบรางวัลเพื่อเป็นการยกย่อง สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ครูรักและผูกพันต่อโรงเรียน ส่งเสริมให้ครูสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข แบ่งภาระงานให้ครูแต่ละคนที่ชัดเจนตามความสามารถ ความถนัดและเหมาะสม การให้อำนาจการตัดสินใจในการดำเนินงานที่ตนรับผิดชอบ โรงเรียนควรจัดกิจกรรมที่จะทำให้ครูทุกคนได้มีส่วนร่วม เช่น กีฬาบุคลากร เป็นต้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล 2546 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การ

รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2546) : 6 - 7.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)

พ.ศ.2545 (กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิก, 2545), 2-3.

ปรีชา คัมภีรปกรณ์, “การบริหารทรัพยากรการศึกษา”, พิมพ์ครั้งที่ 3 (นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช,

, 11.

มนต์สิงห์ ไกรสมสุข, “แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัคร

สังฆมณฑลกรุงเทพฯ” (วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552), บทคัดย่อ

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา,รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(กรุงเทพฯ : เพลิน สตูดิโอจำกัด, 2551), 1.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, โครงการพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาประจำการ:ชุด

วิขาการจัดการองค์การทางการศึกษา (กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ, 2549).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, รายงานความก้าวหน้าการจัดการเรียนรู้ระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2551 –

(กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552), 13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30