การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในการ ซื้อเสื้อผ้าบนเพจเฟซบุ๊ก TONPRIGSHOP ของผู้บริโภคในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นงนภัส ชัยรักษา Rangsit University
  • สุมามาลย์ ปานคำ

คำสำคัญ:

การรับรู้ในคุณภาพสินค้า, ความภักดี, ภาพลักษณ์ของตราสินค้า, ความน่าเชื่อถือของตราสินค้า, เพจเฟซบุ๊ก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในการซื้อเสื้อผ้าบนเพจเฟซบุ๊ก TONPRIGSHOP ของผู้บริโภคในประเทศไทย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยซื้อเสื้อผ้าบนเพจเฟซบุ๊กTONPRIGSHOP และอาศัยในประเทศไทย จำนวน 430 คน  ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Sampling) ระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

          ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในการซื้อเสื้อผ้าบนเพจเฟซบุ๊ก TONPRIGSHOP ของผู้บริโภคในประเทศไทย มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (χ2) เท่ากับ 199,60 ค่า CMIN/df เท่ากับ 2.41, ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 83, ค่า GFI เท่ากับ 0.94, ค่า AGFI เท่ากับ 0.92, ค่า SRMR เท่ากับ 0.04, ค่า RMSEA เท่ากับ 0.06 ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 15 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้ในคุณภาพสินค้า 2) ด้านภาพลักษณ์ของตราสินค้า และ 3) ด้านความน่าเชื่อถือของตราสินค้า

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: โพรเจ็คท์ ไฟฟ์-โฟว์.

ณัฐจิรา อิ่มวิเศษ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีในตราสสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสตารเวลล์ ในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดิฐวัฒน์ ธิปัตดี. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้าน้ำดื่มบรรจุขวดตราสิงห์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). รูปแบบลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สําหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่13.กรุงเทพฯ: บิสซิเนส อาร์แอนด์ดี.

พัฒน์ชญานันท์ วงศ์ชมภู และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีต ตราสินค้า สีโจตัน ของผู้บริโภคในกลุ่มบ้าน ที่อยู่อาศัย ที่ซื้อตรงกับบริษัทในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 3 (1)

สุดาทิพย์ ยอดสายออ. (2559). การยอมรับเทคโนโลยี Facebook Live และความน่าเชื่อถือของข้าวของPage ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าบน Facebook. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

อัคร์วิชญ์ เชื้ออารย์ และณักษ์ กุลิสร์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีในแบรนด์ “Greyhound” ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 4(2), 74-88.

Kotler, P. (2000). Marketing management (10th ed.). New Jersey: Prentice-Hall. Mowen, J. C., & Minor, M. (1998). Consumer behavior (5th ed.). New Jersey: PrenticeHall.

Lassoued, R., & Hobbs, J. E. (2015). Consumer confidence in credence attributes: The role of brand trust. Food Policy, 52(1), 99–107.

Powers, T., Advincula, D., Austin, M., Graiko, S., & Snyder, J. (2012). Digital and Social Media in the Purchase Decision Process. Journal of Advertising Research, December, 52(4) ,479-489.

Tadeja Krasna, (2008). The Influence of Percevied Value on Customer Loyalty in Slovenian Hotel Industry. TURIZAM Review, 12, 12-15

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30