การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งตามแนวพุทธจริยศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พิเชษฐ์ สมุทวรานนท์ พุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • บุญร่วม คำเมืองแสน พุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การดำเนินชีวิต, ลาวครั่ง, พุทธจริยศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง 2.เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ 3. เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งตามแนวพุทธจริยศาสตร์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน ในเขตจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอุทัยธานี  และจังหวัดชัยนาท จำนวน 12 รูป/คน

ผลการวิจัย พบว่า 

            การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง นิยมอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่และปลูกผักนานาชนิด และที่ทำจากเครื่องจักสานและการทอผ้าตีนจก เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่เป็นเอกลักษณ์ของลาวครั่งไว้จำหน่ายที่ศูนย์เรียนรู้การทอผ้าตีนจกมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าของชนเผ่าในวาระงานสำคัญต่างๆ เช่นงานบวช งานแต่งงาน ส่วนประเพณีที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ ได้แก่ การแห่ธงสงกรานต์ การไหว้ผีปู่ตาหรือผีเจ้านาย หรือผีบรรพบุรุษ การฟ้อนรำตามแบบฉบับของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ชุมชนทำการฟื้นฟูและอนุรักษ์ไว้

หลักพุทธจริยศาสตร์ เป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตเปรียบเสมือนเรือที่มีหางเสือ คอยประคับประครองให้ถึงจุดหมายปลายทางได้  การปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์ที่ทำให้เกิดความสงบสุขของชุมชน ความสามัคคี และความเจริญอย่างมั่นคง ได้แก่ศีล 5 กุศลกรรมบท 10 มรรคมีองค์ 8 เป็นต้น 

การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งตามแนวพุทธจริยศาสตร์ ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของชุมชนเอาไว้ได้ โดยยึดหลักความกตัญญูกตเวทิตา และการปฏิบัติตามหลักของศีล 5 มีการไม่เบียดเบียนกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อยู่ในทำนองคลองธรรม พูดจามีประโยชน์ และไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดผิดกฎหมาย แม้ว่าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปเพราะอิทธิพลของเทคโนโลยีที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต ทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมได้สูญหายไปบ้างก็ตาม แต่ชุมชนก็มีการปรับตัวเองให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน

References

ข้อมูลปฐมภูมิ

พระไตรปิฎกและอรรถกถา ฉบับของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ พุทธศักราช 2539

หนังสือทั่วไป

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), ทิศทางพัฒนาในอนาคต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

หน้า 68

พุทธทาสภิกขุ, สันติภาพของโลก. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา. 2536 หน้า 56

จรูญ ลีลา, หลักการพัฒนาชีวิตตามแนวพุทธจริยศาสตร์, กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ โอเดียนสโตร์, 2535

หน้า 45

วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/รายงานการวิจัย

พระเสด็จ ฐิตสาสนโน (กุมภิโร), ศึกษาหลักพุทธปรัชญาเรื่องสันโดษเรื่องสันโดษที่มีอิทธิพลต่อวิถีการ

ดำเนินชีวิตของ

พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ (ชัยยันต์ สืบกระพันธ์), บูรณาการหลักพุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิต

ของคนไทยในสังคมปัจจุบัน,วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาพุทธศาสนาและ

ปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555

จิตกวี กระจ่างเมฆ, อนุรักษ์และสืบทอดภาษาถิ่น: ภาษาลาวครั่งอำเภอดอนตูมจังหวัดนครปฐม”.

วารสารวิชาการและวิจัยมทร.พระนครสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2

กรกฎาคม-ธันวาคม 2560

จตุพร ร่วมใจ, การศึกษาศาสนภาพและการประยุกต์หลักพุทธธรรมของนักธุรกิจ : ศึกษากรณีนัก

ธุรกิจไทยพุทธใน กรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยมหิดล, 2542

เดโชพล เหมนาไลย, สัมมาอาชีวะในพระไตรปิฎก. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2556

นภชนก พรมสอน, อิทธิพลของศีล 5 ในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อการดำเนินชีวิตของนักเรียนใน

ปัจจุบัน,ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย,

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556

วิไลวรรณ อาจาริยานนท์, “รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักพุทธธรรมสำหรับ

ผู้สูงอายุ”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2559 (บทคัดย่อ)

รัตนาพร เศรษฐกุล, การคงอยู่และการปรับเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท กรณีศึกษา

หมู่บ้านในตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่, รายงานการวิจัย, สำนักงาน

คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2557

สิงหนาท ประศาสน์ศิลป์, การดำเนินชีวิตที่มีความสุขของข้าราชการพลเรือนวัยเกษียณตามแนวทาง

พุทธบูรณาการ, วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย

มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30