ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ามือสองผ่านเพจเฟซบุ๊ก ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
ความน่าเชื่อถือ, ความผูกพันทางจิตใจ, ความตั้งใจซื้อ, เพจเฟซบุ๊ก, รองเท้ามือสองบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อรองเท้ามือสองผ่านทางเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ามือสองผ่านเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ที่เคยซื้อรองเท้ามือสองผ่านเพจ
เฟซบุ๊ก “ขายรองเท้ามือสอง by Iron Room” และพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้างใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเพื่อหาเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุของตัวแปรผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความน่าเชื่อถือของตราสินค้า 2) ด้านความผูกพันทางจิตใจ 3) ด้านการตัดสินใจซื้อ และ 4) ด้านความตั้งใจซื้อ และโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (2) = 175.91, ค่า CMIN/df = 1.12, ค่าองศาอิสระ (df) = 157, ค่า GFI = 0.93, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.04, ค่า RMSEA = 0.02 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ เท่ากับ 0.96 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อรองเท้ามือสองผ่านเพจเฟซบุ๊ก ได้ร้อยละ 96 ความตั้งใจซื้อรองเท้ามือสองผ่านเพจเฟซบุ๊กได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของตราสินค้า ปัจจัยด้านความผูกพันทางจิตใจ และปัจจัยด้านการตัดสินใจซื้อ มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.70 , 0.47 และ 0.01ตามลำดับ ผู้ประกอบการสามารถนำผลวิจัยไปใช้ในการวางแผนการตลาดและสร้างกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคต่อไป
References
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในงานแสดงสินค้าของประชากรใน
กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เฉลิมศักดิ์ ใหญ่นาคะศิริ. (2560). การใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน. [ออนไลน์], 1 พฤศจิกายน 2563
แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/sarasontest/chwy-hi-mnusy-mi-khwam-sadwk
ณัฐกฤษณ์ รัตนเหม. (2561). ความน่าไวว้างใจของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นนทพร จุติมานนท์ (2552). พฤติกรรมการซื้อรองเท้ามือสองของวัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มีนา อ่องบางน้อย และ พนิต กุลศิริ. (2553). คุณค่าตราสินค้า ความไว้วางใจ และความพึงพอใจ ที่มีผลต่อ
ความภักดีต่อตราสินค้า CAT CDMA (แคท ซีดีเอ็มเอ). วารสารบัญญัติภิวัฒน์, 2 (1) , 52-69.
วงศกร ยุกจิภูติ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกผันในแอปพลิเคชันLINEของผู้บริโภคใช้งานใน
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุนิตา ศรีพลนอก. (2559). คุณภาพในการบริการและการยึดติดทางอารมณ์ที่มีอิทธิพลต่อความภักดีต่อการใช้บริการร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อนัญญา อุทัยปรีดา. (2558). ความเชื่อมั่นในตราสินค้าและภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Berenberg Bank. (2020). รายได้ทางใหม่ เมื่อ “สินค้ามือสอง” จะกลายเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่กำลังมาแรงหลังโควิด-19 จบ [ออนไลน์]. 1 พฤศจิกายน 2563 แหล่งที่มาhttps://cheechongruay.co.th
Erdem and Swait. (1998). Brand Equity as a Signaling Phenomenon. [ออนไลน์], 1 พฤศจิกายน
แหล่งที่มา https://onlinelibrary.wiley.com
Hoelter, J.W. (1983). The analysis of covariance structures: Goodness-of-fit indices.
Sociological Methods and Research, 11, 325–344.
Hootsuite. (2020). DIGITAL 2020: THAILAND. [ออนไลน์], 1 พฤศจิกายน 2563 แหล่งที่มา
https://datareportal.com/reports/digital-2020-thailand.
Kline, R. B. (2011). Assumptions in structural equation modeling. In Handbook of Structural
Equation Modeling (R. Hoyle, ed.). Guilford Press, New York.
Shih-Ping Jeng,et al. (2016). The influences of airline brand credibility on consumer purchase intentions. [ออนไลน์], 1 พฤศจิกายน 2563 แหล่งที่มาhttps://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0969699715301216.
Wikipedia. (2020). เฟซบุ๊ก. [ออนไลน์], 1 พฤศจิกายน 2563 แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์