การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1

ผู้แต่ง

  • วิบูลอร นิลพิบูลย์ การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นุชนรา รัตนศิระประภา การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการศึกษา 140 คน จาก 28 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของ สวอนส์เบิร์กและประสิทธิผลของโรงเรียนตามแนวคิดของมอทท์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

           ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลาดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความยึดมั่นผูกพัน ความมีอิสระในการปฏิบัติงาน การไว้วางใจกัน และการตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ดังนี้ ความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโรงเรียน ความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีเจตคติทางบวก และความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง 3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กนิษฐา สุขสมัย. (2558). “การบริหารแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม”. วารสารธุรกิจปริทัศน์. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 7(2): 9-25.

กัญวัญญ์ ธารีบุญ. (2557). “การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธัณฐภรณ์ สิมมา. (2561). “การบริหารเวลากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1”.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นัยนา นิลพันธุ์. (2556). “คุณลักษณะผู้นำกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1”.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มุทิตา เครือวัลย์. (2555). “ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูกับประสิทธิผล

โรงเรียนประถมศึกษา เครือข่ายแกลงบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต2”. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา

ศิริลักษณ์ แซ่โค้ว. (2558). “ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษากลุ่มศรีราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3”. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

โสภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). “การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. (2563). “แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2563” กลุ่มนโยบายและแผน.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 : นนทบุรี.

อำนวยพร สอิ้งทอง. (2556). “คุณภาพชีวิตของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฤทัยรัตน์ ปัญญาสิม. (2560). “การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Best, W. J. (1981). Research in Education, 3rd ed. New Jersey: Prentice – Hall.

Cronbach, L.J. (1974). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row Publisher.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities” Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill Book Company.

Mott, P. E. (1972). The Characteristic of Effective Organizations. New York : Harper and Row.

Swansburg, R. C. (1996). Management and Leadership for Nurse Managers, 2nd ed. Jones and Bartlett Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30