แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพละ 5 เพื่อพัฒนาชุมชน บ้านศาลาดิน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพละ 5 เพื่อพัฒนาชุมชน บ้านศาลาดิน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • กฤตสุชิน พลเสน -
  • พระราชปฏิภาณโกศล
  • ประเวช วะทาแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาการใช้หลักพละ 5 พัฒนาชุมชนบ้านศาลาดิน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาผลการประยุกต์ใช้หลักพละ 5 เพื่อพัฒนาชุมชนบ้านศาลาดิน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และ 3) นำเสนอข้อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพละ 5 เพื่อพัฒนาชุมชนบ้านศาลาดิน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม การศึกษาใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคล รวบรวมข้อมูลโดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ

ผลการวิจัยพบว่า ประชนในชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 20 คน มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย มีอายุตั้งแต่ 30-60 ปี  1) การใช้หลักพละ 5 เพื่อพัฒนาชุมชนบ้านศาลาดิน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม คือ 1. ศรัทธาพละ (ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย) 2. วิริยะพละ (ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน) 3. สติพละ (ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอย ไร้สติ) 4.สมาธิพละ (ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่าน) 5. ปัญญาพละ (ความรอบรู้ กำลังการควบคุมเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย)  2) ผลการประยุกต์ใช้หลักพละ 5 ในชุมชนบ้านศาลาดิน ทำให้ประชาชนผู้ปฏิบัติตามเป็นผู้มีบุคลิภาพที่ดี ที่มีความเชื่อมั่นในตนเองมีสติปัญญาดี ที่จะทำภารกิจของตน ทำให้เกิดความมั่นคงในชีวิต ประชาชนมีความมานะบากบั่นเพียรพยายามกระทำหน้าที่การงานของตนให้สำเร็จ  3) ข้อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพละ 5 หลายคนในชุมชนยังไม่มีความเข้าใจถึงความหมายของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พละ 5 เท่าที่ควร ทำให้อาจจะไม่ได้นำไปประยุกต์ในการพัฒนาชุมชน หรือชีวิตประจำวันเท่าที่ควร ประชาชนจึงเสนอแนะให้มีการบรรยายธรรมะแก่ชุมชน ในเวลาที่ชุมชนมีการประชุมกัน เดือนละ 1 ครั้ง พร้อมกับเชิญคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นที่ปรึกษาในส่วนของการประยุกต์หลักธรรมที่ใช้กับชุมชน จะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในโอกาสต่อไป

คำสำคัญ : 1.การประยุกต์ 2.พละ 5 3.พัฒนาชุมชน

References

พันตรีสุทิน บัวตุ่ม, “การใช้พละ 5 เพื่อพัฒนาชุมชน:ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนค่ายวชิราวุธ จังหวัดนครศรีธรรมราช” สารนิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย), 2549.

คำแถลงนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2562.

ณัฐนันท์ ประกายสันติสุข. “ประสิทธิภาพของการสื่อสารในการเผยแพร่ธรรม หลักสูตรการพัฒนา จิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข”. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

พระมหาทองสุข สุภโร. “อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อวิถีไทย” วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2545.

พระมหาปรีชา ติยานนท์. “การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของสงฆ์ในการใช้หลักพุทธธรรมให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาชีวิตแก่ศาสนิกชนในสังคมปัจจุบัน”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2535.

พระมะลิน กิตติปาโล, “ความสําคัญของศรัทธา ในคําสอนของพระพุทธศาสนา” วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2540.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30