แนวทางการจัดการการบริจาคทานของประชาชนช่วงสถานการณ์โควิด 19 : ศึกษาเฉพาะ “ตู้ปันสุขในตำบลศาลายา”

แนวทางการจัดการการบริจาคทานของประชาชนช่วงสถานการณ์โควิด 19 : ศึกษาเฉพาะ “ตู้ปันสุขในตำบลศาลายา”

ผู้แต่ง

  • สิริพร ครองชีพ -
  • กฤตสุชิน พลเสน
  • ประเวช วะทาแก้ว

คำสำคัญ:

1. บริจาคทาน 2. สถานการณ์โควิด-19 3. ตู้ปันสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาหลักธรรมเรื่องทานโดยทั่วไป 2) ศึกษาการ บริจาคทานของผู้บริจาคและผู้รับของประชาชนช่วงสถานการณ์โควิด 19: ศึกษาเฉพาะ “ตู้ปันสุขในตำบลศาลายา” และ 3) เสนอแนะแนวทางบริจาคทานของประชาชนช่วงสถานการณ์โควิด 19: ศึกษา เฉพาะ “ตู้ปันสุขในตำบลศาลายา” กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักธรรมเรื่องทาน การให้สิ่งที่ควรให้ทั้งสิ่งของเครื่องยังชีพหรือคำแนะนำสั่งสอน ตลอดจนเผื่อแผ่กันด้วยไมตรีที่มาจากเจตนาปราศจากความโลภและอยากให้ผู้อื่นมีความสุข แนวคิดที่เกี่ยวกับการให้ทานนี้มีทั้งแนวคิดทางฝากตะวันตกและตะวันออก ส่วนมากการให้ทานก็มีเพื่อหวังให้สังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขจะเห็นได้ว่าการให้ทานไม่ว่าศาสนาใดก็เป็นสิ่งจำเป็นและถือเป็นคุณธรรม 2) ประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ส่วนใหญ่ มีความเข้าใจหลักธรรมที่เกี่ยวกับทาน คือ มีน้ าใจให้สิ่งของแก่บุคคลอื่น ให้ไม่คิดหวังผลตอบแทน มีความพึงพอใจที่เป็นผู้บริจาคทาน ขึ้นอยู่กับฐานะรายได้ของตนเอง ในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้คนล าบากเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก สิ่งที่

เราเห็นได้ชัดในช่วงนี้คือ ตู้แบ่งปัน หรือ ตู้ปันสุข ที่มีเพื่อแบ่งปันของกินให้กับผู้ที่ต้องการได้หยิบไปกินไปใช้กันแบบฟรีๆ ถือว่าเป็นการช่วยเหลือกันและกัน 3) ตู้ปันสุขในตำบลศาลายา มีข้อที่เสนอแนะดังนี้ 1. ควรใส่ของในตู้ให้คละกันไป ไม่ควรใส่ของนั้นๆ ในปริมาณมากๆ ป้องกันคนหยิบของไปหมด 2. ขอให้ผู้มีจิตใจดีที่ชอบทำบุญทั้งหลายจงพิจารณาให้ดี อยากให้ประชาชนยึดหลักธรรมทางพุทธศาสนา ได้แก่หลักสัปปุริสธรรม 7 โดยเฉพาะข้อ 4 คือ มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ หรือความพอดี 3. ควรประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานร่วมกันติดตั้ง “ตู้ปันสุข” ในพื้นที่ต่างๆ และให้ถือเป็น“มาตรการเยียวยาระยะยาว” 5.ควรรณรงค์ปลูกจิตส านึกให้กับประชาชนที่มารับของจากตู้ปันสุขควรนำไปแต่พอดีตนเองหรือครอบครัว

References

พระธรรมวิสุทธิกวี(พิจิตร ฐิตวัณโณ), กฎแห่งทานะทําหนึ่งได้ร้อย ทําร้อยได้ล้าน.

พระไตรปิฎก เล่มที่ 2 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 2 มหาวิภังค์ ภาค 2 ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 4-ทรง บัญญัติสิกขาบท. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (ออนไลน์).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, (ออนไลน์).

พระชาย วรธมโม, ฉลาดทําบุญ, พิมพ์ครั้งที่ 56, กรุงเทพมหานคร : เคล็ดไทย, 2549.

สมทรง ปุญญฤทธิ์. วิธีทําบุญฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ,2544.

กานต์ ประทุมทอง, “ศึกษาวิเคราะห์ปัญจมหาบริจาคที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท”พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2549.

กษิรา เทียนส่องใจ,“การศึกษาวิเคราะห์อภัยทานเพื่อขจัดความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบัน”, พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบาลี, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550.

ผศ. ดร. อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล, “สังคมไทยกับการบริจาคและการประกอบกิจกรรมทางศาสนา” วรสารเศรษฐศาสตร์บริทรรศน์, คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558).

พระครูพิลาศสรกิจ (สุรศักดิ์ ธารายศ),“ศึกษาวิเคราะห์การให้ทานในสังคมไทยยุคปัจจุบัน” วิทยานิพนธ์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช, 2562.

พระมหาอนงค์ กตปุญฺโญ (หล้าทองอินทร์),“ศึกษาเปรียบเทียบการให้ทานสมัยพุทธกาลกับปัจจุบัน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น”,พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30