ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าบนเว็บไซต์ซูเปอร์มาร์เก็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • อันธิกา หยองอนุกูล -
  • สุมามาลย์ ปานคำ

คำสำคัญ:

การรับรู้คุณภาพเว็บไซต์, ความพึงพอใจ, ความไว้วางใจ, ความตั้งใจซื้อซ้ำ, ซูเปอร์มาร์เก็ต

บทคัดย่อ

             งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล  ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าบนเว็บไซต์ซูเปอร์มาร์เก็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าบนเว็บไซต์ซูเปอร์มาร์เก็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ซูเปอร์มาร์เก็ต อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป และพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 280 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้คุณภาพเว็บไซต์ 2) ด้านความพึงพอใจของลูกค้า 3) ด้านความไว้วางใจของลูกค้า 4) ด้านความตั้งใจซื้อซ้ำ และโมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยมีค่าสถิติ ไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 215.93, ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 136, ค่า CMIN/df  เท่ากับ 1.59, ค่า GFI เท่ากับ 0.93,  ค่า AGFI เท่ากับ 0.90,  ค่า SRMR เท่ากับ 0.06 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.04 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ เท่ากับ 0.66 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าบนเว็บไซต์ซูเปอร์มาร์เก็ต ได้ร้อยละ 66 ปัจจัยด้านความตั้งใจซื้อซ้ำ ได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยด้านความไว้วางใจของลูกค้า ขนาดอิทธิพล เท่ากับ 0.81 และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยด้านการรับรู้คุณภาพเว็บไซต์ และปัจจัยด้านความพึงพอใจของลูกค้า ขนาดอิทธิพล เท่ากับ 0.63 และ 0.75 ตามลำดับ

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ:

ซีเอ็ด ยูเคชั่น.

ชไมพร กาญจนกิจสกลุ. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: โพรเจ็คท์ไฟฟ์-โฟว์.

ธนกฤต ตปนีย์และสุรสิทธิ์ บุญชูนนท์. (2561). อิทธิพลของคุณภาพการบริการที่มีผลต่อความไว้วางใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซํ้าของผู้ใช้บริการรถแท็กซี่สาธารณะ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3 ). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผู้จัดการ 360 องศา. (2563). ตลาดอีคอมเมิร์ซโตไม่หยุด สวนกระแสธุรกิจพังหลัง COVID-19. สืบค้น 31 ตุลาคม, 2563, จาก http://gotomanager.com /content/author/ manager360/.

พีรวิชญ์ ธีระกาญจน์. (2562). อิทธิพลของการรับรู้คุณค่าและการตระหนักรู้ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการซื้อซ้ำของผลิตภัณฑ์ซีเรียลผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (Unpublished Master’s thesis). สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น, กรุงเทพฯ.

ภูษณิศา ศิริศันสนียกุล. (2559). อิทธิพลของการรับรู้คุณภาพเว็บไซต์ที่มีต่อความพึงพอใจ ความเชื่อมั่น และความภักดีต่อเว็บไซต์ “วงใน” ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). E-Commerce ปี 63 คาดมูลค่าตลาดชะลอเหลือโต 8-10% สภาวะ New normal กระตุ้นการแข่งขันที่ยากและรุนแรงขึ้น (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3112). สืบค้น 31 ตุลาคม, 2563, จากhttps://kasikornresearch.com/th/analysis/kecon/business/Pages/ z3112.aspx.

สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย. (2563). ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ยุคใหม่ และการปรับใช้เพื่อสร้างการเติบโต. สืบค้น 3 มกราคม, 2564, จาก https://www.marketingoops.com/news/ecommerce/e-commerce-outlook/.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). (2563). จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. สืบค้น 3 มกราคม, 2564, จาก http://webstats.nbtc.go.th/netnbtc/ INTERNETUSERS.php.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/ publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2020.aspx.

Aren, G., Güzel, M., Kabadayı, E., & Alpkan, L. (2013). Factors Affecting Repurchase Intention to Shop at the Same Site. Procedia: Social and Behavioral Sciences, 99, 536–544.doi: 10.1016/j.sbspro.2013.10.523.

Hoelter, J. W. (1983). The Analysis of Covariance Structure: Goodness-of-Fit Indices. Sociological Method and Research, 11(3), 325-344.

Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling (ed 3 rd). New York: The Guilford Press.

Octavia, D. & Tamerlane. A. (2017). The Influence of Website Quality on Online Purchase Intentions on Agoda.Com with E-Trust as a Mediator. Binus Business Review, 8(1), May 2017, 9-14.

Razak et al. (2014). Trust and Repurchase Intention on Online Tourism Services among Malaysian Consumers. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 130 (2014), 577-582.

Scb10x. (2563). ทิศทางการเติบโตของตลาด E-Commerce ไทย. Retrieved December 30, 2020, from https://www.scb10x.com/blog/future-of-ecommerce.

Stock2morrow. (2563). วิเคราะห์สงครามค้าปลีก เมื่อ 3 ยักษ์ จ้องชิงเทสโก้ โลตัส. Retrieved November 3, 2020, from https://stock2morrow.com/discuss/room/1/topic/19622.

Techsauce Team. (2563). Priceza เผยตัวเลขตลาด E-Commerce ไทยปี 2020 อาจพุ่งแตะ 220,000 ล้านบาท จากสถานการณ์ COVID-19. Retrieved October 31, 2020, from https://techsauce .co/ news/priceza-thailand-e-commerce-market-2020.

Wang, E. H. H. & Chao-Yu, C. (2011). System quality, user satisfaction, and perceived net benefits of mobile broadband services. 8th Asia-Pacific Regional ITS Conference. Taipei: International Telecommunications Society.

We Are Social & Hootsuite. (2020). Digital 2020 Thailand. Retrieved October 31, 2019, from https://datareportal.com/reports/digital-2020-thailand.

Wijaya et al. (2018). Determinants of Repurchase Intentions at Online Stores in Indonesia. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/325951632_Determinants_of_ Repurchase_Intentions _at_Online_Stores_in_Indonesia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30