ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

ผู้แต่ง

  • ภัทร์ธีรา วงษาวดี การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มัทนา วังถนอมศักดิ์ การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ทักษะการบริหาร, วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา, วัฒนธรรมของโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 2) วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 3) ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8  สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 เป็นหน่วยวิเคราะห์ จำนวน 48 โรงเรียน กำหนดผู้ให้ข้อมูล โรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน (ผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทน) จำนวน 1 คน 2) หัวหน้างาน หรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 1 คน และ 3) ครู จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารใช้แนวคิดของกริฟฟิน วัฒนธรรมองค์การ ใช้แนวคิดของ แพตเตอร์สัน เพอร์กี้และปาร์คเกอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

          ผลการวิจัยพบว่า

         1.  ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยดังนี้ ทักษะด้านความคิดรวบยอด ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะติดต่อสื่อสาร ทักษะด้านเทคนิค ทักษะการบริหารเวลา ทักษะการวินิจฉัย และทักษะการตัดสินใจ ตามลำดับ

          2.  วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยดังนี้ คือ ความซื่อสัตย์ เหป้าประสงค์ของสถานศึกษา ความเป็นเลิศ ความไว้วางใจ และความเชื่อมั่น การสร้างเสริมพลังอำนาจ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสถานศึกษา ความหลากหลาย การตัดสินใจ การยอมรับ และการเอื้ออาทร ตามลำดับ

         3.  ทักษะการบริหารของผู้บริหาร ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ ทักษะการบริหารเวลา ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

เกษม วัฒนชัย. การผลิตและการพัฒนาผู้บริหารศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดี จำกัด, 2545.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือการบริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน

ที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), 2546.

จตุพร วิริยานุภาพ. “วัฒนธรรมองค์การกับการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลกลุ่ม การศึกษาท้องถิ่นที่ 1.” วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560.

ชูชีพ บุญศรี, “ทักษะการบราหร”, วารสารวิชาการ 8, 9 (พฤษภาคม 2545): 18.

นางสาวปัทมา สายสะอาด. “ทักษะการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2.” วิทยานิพนธ์ปริญญา

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551.

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9, เกี่ยวกับการเรียนการศึกษา, เข้าถึงเมื่อ

พฤษภาคม 2560, เข้าถึงได้จาก http://campus.campus-sterstar .com /variety/

html.

รัตนา อัตภูมิสุวรรณ์, “การเสริมสร้างทักษะการบริหารในการทำงานร่วมกัน”, พัฒนาเทคนิค

การศึกษา. กรุงเทพฯ : 2542.

วิวัฒน์ บุญยง. “ทักษะการบริหรของผู้บริหารส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา ใน จังหวัดนครปฐม” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.

สัมภาษณ์, ผู้บริหาร และครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8, 22

กุมภาพันธ์ 2561.

Fred C. Lunenburg and Allan C. Ornstein, Educational Administration: Concepts and

practices. 6th ed. Belmont, CA: Wadworth, 2012.

Hersey, Paul and Blanchard, Kenneth. Management of Organization Behavior: Utilizing Human Resources. Englewood Cliffs, N.J. : A Simon & Schmaste Company, 1963.

Jerry L.Patterson,Stewart C Purkey and Jackson V. Parker, “Guiding Belifs of Our School

District,” Productive School Systems for a Nonrational World. New York :

Robert V. Krejcie and Daryle W. Morgan, “Determining Sample Size for Research

Activities,” Journal for Education and Psychological Measurement, No.3

, 1970.

L.J. Cronbach, Essentiala of Psycholohical Testing, 3nd ed. New York : Harper & Row,

Ricky W. Griffin, Management Principles and Practices, 11th ed. Canada: Nelson

Education, 2013.

Robert L. Katz, “Skills of an Effective Administrator,” Harvard Business Review 33, 1

January – February, 1995.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30