เปรียบเทียบจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ กับพุทธจริยศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พรชัย บุญปก พุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • บุญร่วม คำเมืองแสน พุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ 2. เพื่อศึกษาพุทธ จริยศาสตร์ 3. เพื่อเปรียบเทียบจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ กับพุทธจริยศาสตร์ การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัย พบว่า

  1. อิมมานูเอล คานท์ เสนอความคิดทางจริยศาสตร์ในเรื่องเกณฑ์ตัดสินความดี หลักสำคัญคือ การใช้เจตนาเป็นเกณฑ์ตัดสินการกระทำมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล ความดี เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องสอน เพียงแต่เขาใช้ปัญญาเขาจะเป็นคนดีได้ เจตนาของผู้กระทำจริยศาสตร์ของคานท์มีลักษณะเป็นแบบแผนนิยม กล่าวคือ ความถูกต้องของการกระทำไม่ขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ เจตนาดีกับหน้าที่ ค่าทางศีลธรรม ขึ้นอยู่กับเจตนาของปัจเจกชน ซึ่งแสดงออกมาและจะมีค่าทางศีลธรรมได้ก็ต้องเป็นการกระทำที่ทำจากหน้าที่ ในทัศนะของอิมานูเอล คานท์ เมื่อมีการกระทำหนึ่ง ๆ เกิดขึ้น แรงกระตุ้นของการกระทำมี 2 ประเภท คือ 1. การกระทำที่เกิดจากแรงโน้มของอารมณ์ 2. การกระทำที่เกิดจากการสำนึกในหน้าที่ คานท์ มีหลักแนวคิดที่น่าสนใจอื่น ๆ อีก คือเกณฑ์การตัดสินความดี หลักของมนุษย์ในฐานะที่เป็นจุดหมายของตัวเอง กฎแห่งเสรีภาพ
  2. พุทธจริยศาสตร์ มีรากฐานจากคำสอนในทางพระพุทธศาสนา พุทธจริยศาสตร์เป็นหลักความประพฤติที่ดีงาม แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) พุทธจริยศาสตร์ระดับต้น บัญญัติไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม หลักธรรม คือ เบญจศีล เบญจธรรม หรือ เบญจกัลยาณธรรม 2) พุทธจริยศาสตร์ระดับกลาง พุทธจริยธรรมระดับกลาง เพื่อให้บุคคลขัดเกลาตนเองให้มีคุณธรรมสูงขึ้น หลักธรรม คือ ศีล 8 หรือ อัฎฐศีล, กุศลกรรมบถ 10 3) พุทธจริยศาสตร์ระดับสูง เป็นจริยศาสตร์เพื่อพัฒนาตนเป็นอริยบุคคล หลักธรรม คือมรรค 8 หรือ เรียกว่ามัชฌิมปฏิปทา ทางสายกลาง
  3. จากการศึกษาจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ กับพุทธจริยศาสตร์ริยศาสตร์ สามารถนำมาเปรียบ

เทียบในประเด็น ต่าง ๆ ได้ 6 ข้อ คือ 1) เปรียบเทียบเกณฑ์การตัดสินความดี 2) เปรียบเทียบกฎแห่งเสรีภาพ     3) เปรียบเทียบแรงจูงใจ 4) เปรียบเทียบความเมตตากรุณา 5) เปรียบเทียบกฎแห่งศีลธรรม 6) เปรียบเทียบเป้าหมายสูงสุด

References

วศิน อินทสระ. พุทธจริศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เม็ดทราย, 2549 .

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์ พับลิเคชั่น ,2554.

พระธรรมปิฎก (สมเด็จพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต),พจนานุกรมพทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , 2540.

John Hospers, Human conduct, 2nd ed. New York : Harcourt Brace Jovanovich, Inc. 1961.

Harold H. Titus , Ethics for today, 3nd ed. (New Delhi : Eurasia Publishing House (P.V.T.) LTD., 1957.

Immanuel Kant, Foundation of the metaphysics of morals, trans , Lewis White Beck,New York : Macmillan Publishing Company, 1785.

Potton,Kant, Immanuel ,The moral law,trans, (London : Hutchinson University Beck, Foundation of the metaphysics of morals, 1785.

วิทย์ วิศทเวทย์,เกณฑ์การตัดสินจริยธรรม,[ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.baanjomyut.com.

ธันวาคม 63].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30