การสร้างเครือข่ายรัฐศาสตร์เพื่อการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นไทย ศึกษาเฉพาะกรณี: ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พุทธศักราช ๒๕๖๓-๒๕๖๔

ผู้แต่ง

  • ฐากูร หอมกลิ่น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สมภพ ระงับทุกข์

คำสำคัญ:

การสร้างเครือข่ายรัฐศาสตร์, ความพึงพอใจของประชาชน, การพัฒนาการปกครองท้องถิ่นไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ของประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ และการศึกษาต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมจำนวน 384 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ส่วนสถิติเชิงอนุมานหรืออ้างอิง คือ การทดสอบค่าที     (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) หรือ F-test หากทดสอบแล้วพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะทำการวิเคราะห์ต่อโดยวิธีหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffé)

ผลการวิจัยพบว่า

     1) ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยงสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ ด้านงานให้บริการและบริการชุมชน ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ และด้านสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ

 2) การทดสอบสมมติฐานของการวิจัย ประชาชนที่มีเพศ และอาชีพต่างกันมีความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนของประชาชนที่มีอายุ และการศึกษาแตกต่างกัน มีความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ไม่แตกต่างกัน

3) ข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 1) ด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ได้แก่ อบต. ศาลายา ควรวาง

ท่อระบายน้ำและรางระบายน้ำให้ทั่วทุกชุมชน 2) ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อบต.ศาลายา ควรจัดเก็บขยะมูลฝอยให้ทั่วทุก ๆ ชุมชน 3) ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดของ อบต.ศาลายา ควรมีรถรับส่งนักเรียน 4) ด้านงานให้บริการและการบริการชุมชน ได้แก่ อบต. ศาลายา ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้รวดเร็วอย่างทั่วถึง

References

หนังสือทั่วไป

กองราชการส่วนตำบลสำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น. กรมการปกครอง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน, 2542.

กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาสถิติคณะพาณิชยศาสตร์และบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

โกวิทย์ สิงสนันท์, กระบวนการตัดสินใจด้านบริหารและกรอบความคิดทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : สำนักบรรณาสารการพัฒนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2539

กุลธน ธนาพงศธร. การบริหารงานบุคคล. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2530.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. 100 ปีการปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ.2440-2540. พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพมหานคร : คบไฟการพิมพ์, 2550.

รัฐธรรมนูญและพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 2550, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี เอ็น เค แอน สกายพริ้นติ้งส์ จำกัด, 2551), หน้า 344.

องค์การบริหารส่วนตำบล, “รายงานกิจการประจำปี 2561”, (องค์การบริหารส่วนตำบลศาลลายา พุทธมณฑล นครปฐม 2561) หน้า 10-36 (อัดสำเนา).

วิทยานิพนธ์/สาระนิพนธ์/รายงานการวิจัย

คงพัชร์ ไขรัศมี. “ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี”. วิทยานิพน์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา, 2549.

จินตนา คงเหมือนเพชร. “ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของเทศบาลเมืองปัตตานี”.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2540.

ชิดพงษ์ เปลี่ยนขำ, “ได้ทำการศึกษาเรื่อง“ความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2539

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30