การบริหารตามหลักหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารศึกษากับประสิทธิผลของทางการเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • กฤษณา ประวาสุข การบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลั
  • ไกรวรรณ์ ชินทตฺติโย การบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารตามหลักหลักสัปปุริสธรรม, ประสิทธิผลของทางการเรียนของสถานศึกษา

บทคัดย่อ

มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ศึกษาค้นคว้าจาก ตำรา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา โดยรวบรวมต้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป

            ผลการวิจัยพบว่า :

            การบริหารตามหลักธรรมสัปปุริสธรรม 7 ตามหลักสัตบุรุตพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่ามีการกระจายของข้อมูลน้อย แสดงว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขาคณิตจากมากไปน้อย พบว่า การบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านหลักปริสัญญุตา รู้ชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านหลักปุคคลัญญุตา รู้บุคคล อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านหลักกาลัญญุตา รู้กาล ด้านหลักธัมมัญญุตารู้หลักและรู้จักเหตุ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านหลักมัตตัญญุตา รู้ประมาณ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านหลักอัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล  อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับที่สุดท้าย หลักอัตตัญญุตา รู้ตน อยู่ในระดับมากที่สุด

            ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่ามีการกระจายของข้อมูลน้อย แสดงว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดย

เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขาคณิตจากมากไปน้อย พบว่า อัตราการออกกลางคันของนักเรียน) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คุณภาพโดยทั่วไปอยู่ในระดับมากที่สุด ความใส่ใจในงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจในงาน  อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับที่สุดท้าย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด

            ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ผลการวิจัยพบว่า การบริหารตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบคล้อยตามกัน เมื่อพิจารณาการบริหารตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวม กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร รายด้าน มีความสัมพันธ์กันทุกด้าน โดยด้านที่มีความสัมพันธ์กันเรียงลำดับได้ ดังนี้ คุณภาพโดยทั่วไป ความพึงพอใจในงาน การลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความใส่ใจในงาน

 

References

ปัญญันทภิขขุ. ธรรมะกับการดำเนินชีวิต. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, 2552.

ประไพ อุดมผล. การปฏิบัติงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการ

บริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.

พระมหาคมเพชร วชิรปฺโญ. สัปปุริสธรรมของผู้บริหารกับอัจฉริยภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน

พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2561.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). หลักธรรมสัปปุริสธรรม 7 ตามหลักสัตบุรุตพระธรรมปิฎก.

กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต :

บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.

พระไพรวัลย์ ธมฺมวโร วงศ์ภักดี. พฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม 7

สังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต :

บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557.

ไพรินทร์ สุขโข. สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในกลุ่มการศึกษา

ท้องถิ่นที่ 5. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะ

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2561.

วัชรา คำทะเนตร. (2550).บทคัดย่อ. การปฏิบัติงานตามหลักสัปปุริสธรรมของข้าราชการตำรวจสังกัด

กองบังคับการตำรวจนครบาล 8. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต : บัณฑิตวิทยาลัย มหา

จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศุภกร อินทร์คล้า. (2556) ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดเทศบาล

กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1. ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะ

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศิริลักษณ์ แซ่โค้ว. ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษากลุ่มศรี

ราชา 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. การศึกษามหาบัณฑิต,

สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558.

สุวรรณนา มีเดช. การบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอตาคลี

จังหวัดนครสวรรค์. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น

พื้นฐาน (O-Net) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560. สมุทรสาคร: กลุ่มนิเทศ ติดตามและ

ประเมินผลการจัดการศึกษา, 2560.

โสภา วงษ์นาคเพ็ชร์. การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.

Austin, Garham E., and Reynolds, John D. Managing for improved school effectiveness:

An international survey. School Organization, 1990.

Edmonds, R. Some schools work and more can. Social Policy, 1979.

Wayne K. Hoy and Cecil G. Miskel. Educational Administration. Theory Research

and Practice, 8th ed. Singapore : McGraw - Hill,Inc, 2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30