การศึกษาวิเคราะห์เหตุผลของการไม่นับถือศาสนา

ผู้แต่ง

  • ณพิชญ์ ลาภอิ่มทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย -
  • พระครูโกศลศาสนบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ  

            การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดของมนุษย์ในบริบททางศาสนาของสังคมร่วมสมัย 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและเหตุผลของการไม่นับถือศาสนา 3) เพื่อวิเคราะห์เหตุผลการดำเนินชีวิตของการไม่นับถือศาสนา เพื่อให้ทราบถึงแนวคิดเรื่องศาสนาของคนในสังคมร่วมสมัยและทราบถึงเหตุผลต่อการไม่นับถือศาสนา และเหตุผลการดำเนินชีวิตในการไม่นับถือศาสนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ทำการวิเคราะห์เนื้อหาแนวคิดเรื่องดังกล่าวจากหนังสือ เอกสาร บทความ บทวิจารณ์ สื่อต่าง ๆ จากการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ แล้วนำมาวิเคราะห์แนวคิดทางปรัชญาและนำเสนอข้อสรุปเชิงพรรณาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า:

          ความเชื่อทางศาสนาของคนในสังคมร่วมสมัยนี้ ความศรัทธาต่อสิ่งสูงสุดของศาสนาโดยมากหมายถึง พระเจ้า เป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ความมีอยู่หรือการดำรงอยู่ได้ เรื่องนี้เป็นเหตุผลปัจเจกบุคคล สำหรับแนวคิดของการไม่นับถือศาสนาแต่ละบุคคลมีเหตุผลที่แตกต่างกัน แต่แนวคิดสำคัญเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ “แนวคิดมนุษยนิยม” ธรรมชาติของความดี-ความชั่ว การกระทำเป็นผลจากจิตสำนึกส่วนตัวที่มีอิสระเสรีและมีคุณค่าทางจริยธรรม การกระทำที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผลเป็นไปตามหลักปทัสถานทางสังคมในฐานะสมาชิกของสังคม สิ่งที่กลุ่มคนเหล่านี้ให้ความสำคัญ คือ ความเป็นมนุษย์ที่เท่ากัน ปัญญาในระดับมนุษย์เป็นปัญญาที่มีสมรรถภาพในการคิดและศักยภาพของการได้คิดนี้ทำให้มนุษย์ตอบสนองต่อสัญชาตญาณเป็นผลลัพธ์ในการสร้างหรือแสวงหาความสุขรวมทั้งตระหนักรู้ในตนเองและเป็นผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคม

            ต่อข้อสรุปการนับถือศาสนาของกลุ่มคนเหล่านี้ ๆ ไม่มีสถานะเป็นศาสนิกของศาสนาใดบนโลกนี้ ความเชื่อ ความทุกข์ ความเจ็บปวด ความผิดหวังจากการนับถือศาสนาแบบดั้งเดิมทำให้ความเชื่อและความศรัทธาที่เหลืออยู่เปลี่ยนจากรูปแบบเดิมที่เคยมี สิ่งที่พบในแนวคิดทางศาสนาของคนกลุ่มนี้จึงเป็นหลักการใดก็ได้ ไม่บัญญัติรูปแบบจะมีหรือไม่มีก็ได้เป็นธรรมชาติมนุษย์ คือ การใช้ชีวิตเพื่อการพัฒนาตนเองเป็นสิ่งสูงสุดที่ต้องทำ ไม่จำกัดตนเองอยู่ความเชื่อแบบไหนกับความเชื่ออะไร เชื่อว่ามนุษย์ต้องแสวงหาความรู้หรือปัญญาเพื่อขจัดทุกอุปสรรคของชีวิต สร้างชีวิตให้งดงามอย่างงานศิลปะชั้นสูง โดยองว่าถ้าการมีศาสนา หมายถึง การรักษาความเป็นมนุษย์ของเราไว้ ดังนั้นก็ควรรักษาความเป็นมนุษย์ให้ได้ด้วยการมองเห็นและถนอมความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นเช่นกันแบบนี้จึงเรียกว่าเป็นมนุษย์ผู้มีศาสนา

คำสำคัญ : การไม่นับถือศาสนา, ไม่มีศาสนา

Author Biography

ณพิชญ์ ลาภอิ่มทอง, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

-

References

ภาษาไทย

พุทธทาส ภิกขุ. (2559). คู่มือมนุษย์, พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพมหานคร, อมรินทร์ธรรมะ.

ฟรีดิช นิชเช่. (2524. วิถีสู่อภิมนุษย์, กรีติ บุญเจือ แปล, กรุงเทพมหานคร; สำนักพิมพ์พิมพ์ลักษณ์ .

นงเยาว์ ชาญณรงค์. (2542).วัฒนธรรมและศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 4 ,กรุงเทพมหานคร ,โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2539).จริยศาสตร์ตะวันตก: ค้านท์ มิลล์ ฮอบส์ รอลส์ ซาตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทย์ วิศทเวทย์. (2520).เกณฑ์การตัดสินจริยธรรม , จริยศาสตร์เบื้องต้น, หน้า : 65 – 67

สุพัตรา สุภาพ. (2534). สัญญาวิวัฒน์ .

สมฤดี วิศทเวทย์. (2536). ทฤษฎีความรู้ของฮิวม์, กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หลวงวิจิตรวาทการ. (2546). ศาสนาสากล เล่มที่ 1, กรุงเทพมหานคร : อุษาการพิมพ์.

รายงานวิจัย:

สภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต. (2555). สารสถิติ ปีที่ 23 (เล่มที่ 4), กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์:

สมภาร พรมทา.“(SP05) ชีวิตไม่มีศาสนาได้ไหม”, เทปบรรยาย ณ มหาวิทยาลัยมหิดล, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=6LeRveGmmWM, [สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2562]

ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน. “วิพากษ์ทฤษฎีทางปรัชญาจริยะของอิมมานูเอล คานท์”, ศูนย์อิสลามศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.inewhorizon.net/immanuel-kant-2/,[สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2562]

บทสัมภาษณ์คนไร้ศาสนาสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส [ออนไลน์], แหล่งที่มาhttps://www.youtube.com/watch?v=39l8VAKDg9M, [สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2562]

รายการ Inherview กับ คำผกา” สถานีโทรทัศน์ VOICETV21 , ออกอากาศ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ,[ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://show.voicetv.co.th/inherview/464895.html,[สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2562]

หัวข้อข่าว 10 ดาราตัวท็อปที่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนศาสนาตามความศรัทธาส่วนตัว [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://lifestyle.campus-star.com/entertainment/78067.html,[สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2562]

ภาษาอังกฤษ

Bertrand Russell . (2009). The Basic Writings of Bertrand Russell , Edited by Robert E. Egner and Lester E. Denonn; London and New York,.

Hume David. (1779). Dialogues Concerning Natural Religion (2stEd.), London: Penguin Books, Limited, 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30