กรรมวิธี: การแก้กรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)
คำสำคัญ:
กรรมวิธี, การแก้กรรม, สติปัฏฐาน ๔บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษากรรมในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ิตธมฺโม) ๓) เพื่อวิเคราะห์กรรมวิธีการแก้กรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากคัมภีร์ พระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนาและผู้ปฏิบัติธรรมสายพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ิตธมฺโม)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. กรรมในพระพุทธศาสนา คือ กฎธรรมชาติ หมายถึงการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือการจงใจหรือตั้งใจกระทำ ธรรมชาติ ๓ เป็นเหตุให้เกิดกรรมชั่ว ๓ ประการ โลภะ โทสะ โมหะ และธรรมชาติ ๓ เป็นเหตุให้เกิดกรรมดี ๓ ประการ อโลภะ อโมสะ อโมหะ จำแนกตามทางที่แสดงออกได้ ๓ ทางคือ ทางกาย (กายกรรม) ทางวาจา (วจีกรรม) และทางใจ (มโนกรรม) จำแนกตามคุณภาพของกรรมได้ ๒ อย่าง คือ กรรมดี (กุศลกรรม) และ กรรมชั่ว (อกุศลกรรม) จำแนกตามลักษณะความประพฤติผู้ที่ทำกรรม แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ และอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ จำแนกตามเวลาที่เกิดจะได้ ๒ อย่าง คือ กรรมเก่า และกรรมใหม่ จำแนกวิบากตามลักษณะของกรรมจะได้ ๔ ประเภทคือ ๑ กรรมดำมีวิบากดำ ๒ กรรมขาวมีวิบากขาว ๓ กรรมทั้งดำและขาว มีวิบากทั้งดำและขาว และ ๔ กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว
๒. คำสอนเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ิตธมฺโม) ท่านสอนเรื่องกฎแห่งกรรมให้ ศิษ . สุเชาว์ พลอยชุม*** ยานุศิษย์มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยวิธีด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (สติปัฏฐาน ๔) การอธิฐานจิตขอขมากรรม ขออโหสิกรรม การแผ่เมตตา และการสวดมนต์
๓. กรรมวิธี: การแก้กรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์(จรัญ ิตธมฺโม) ท่านได้สอนถึงการให้เร่งกระทำกรรมดีเพื่อให้กรรมดีได้เข้าแทรกแซง ซึ่งจะเป็นการบรรเทาอกุศลกรรมให้ค่อย ๆ จางหายไป ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (สติปัฏฐาน ๔) การอธิฐานจิตขอขมากรรม ขออโหสิกรรม การแผ่เมตตา และการสวดมนต์ คุณค่าการแก้กรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ิตธมฺโม) มีผล ๔ ระดับ ได้แก่ ๑. ระดับภายในจิตใจ บุคคลเมื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามสติปัฏฐาน ๔ การอโหสิกรรม การแผ่เมตตา และการสวดมนต์ ทำให้สติเกิดความระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมสามารถควบคุมกายและจิต ทำให้จิตใจโปร่งโล่งสบาย ทำให้ตนเองมีความสุข มีปีติอิ่มเอิบใจ ๒. ระดับบุคลิกภาพ บุคคลเมื่อมีการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามสติปัฏฐาน ๔ ทำให้สติเกิดความระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมยิ่งขึ้น เมื่อกระทำตามขั้นตอนอย่างละเอียดดีแล้ว จะทำให้มีบุคลิกที่สง่างาม เป็นบุคคลที่มีลักษณะดี ๓. ระดับวิถีชีวิต บุคคลเมื่อมีการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามสติปัฏฐาน ๔ เป็นประจำ เป็นผู้รู้การให้อภัย ให้อโหสิกรรม ทำอะไรมีเมตตาธรรม ทำให้วิถีชีวิตดำเนินไปอย่างราบรื่น เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็สามารถแก้ไขได้ เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๔. ระดับสังคม สังคมจะไม่เกิดการหวาดระแวงกัน สังคมเกิดความเอื้ออาทร มีเมตตาต่อกัน มีกรุณาต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่งรวมไปถึงการให้อภัย จะทำให้ตนเองอยู่ดีมีสุข และสังคมสงบน่าอยู่สามารถพึ่งพาช่วยเหลืออุปถัมภ์ซึ่งกันและกันได้ทำให้เป็นสังคมอารยธรรม
References
พระไตรปิฎกและอรรถกถา
พระไตรปิฎกภาษาไทย อรรถกถา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙ .
หนังสือ
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ิตธัมฺโม), อดีตกรรม: ประสบการณ์กฎแห่งกรรม.พิมพ์ครั้งที่ ๑.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา. ๒๕๕๕.
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ิตธัมฺโม), หลวงพ่อจรัญตามรอยกรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๑, นนทบุรี : บริษัท ปัญญาพนต์ พับลิซซิ่ง จำกัด, ๒๕๕๘.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือ บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด, ๒๕๔๖.
พระภาวนาวิสุทธิคุณ (จรัญ ิตธัมฺโม), กฎแห่งกรรม วิปัสสนาสื่อวิญญาณ ตอนที่ ๒, กรุงเทพมหานคร : รุ่งเรืองสาสน์การพิมพ์, ๒๕๓๓.
วศิน อินทสระ, หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด, พิมพ์ครั้งที่ ๒๖, กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์