ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ชาปิยา สิมลา -
  • นุชนรา รัตนศิระประภา ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) คุณภาพชีวิตในการทำงานของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 85 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน คือ 1) ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการโรงเรียน และ 2) ครูรวมทั้งสิ้น 170 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ตามแนวคิดของโกลแมน (Goleman) และคุณภาพชีวิตในการทำงานตามแนวคิดของวอลตัน(Walton) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่ามัชฌิชเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง การเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น การตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง การมีทักษะสังคม และการควบคุมตนเอง
  2. คุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ในภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับตามค่ามัชฌิชเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การคำนึงถึงประโยชน์และความรับผิดชอบต่อสังคม ประชาธิปไตยในองค์การ โอกาสและการพัฒนาความสามารถ สิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน การบูรณาการทางสังคม ค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม และความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว
  3. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสัมคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบคล้อยตามกัน

References

กนกอร ไชยกวาง (2560).ความสัมพันธระหวางความฉลาดทางอารมณกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน, วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยพะเยา

กระทรวงแรงงาน (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working Life) เข้าถึงได้จาก https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/475-quality-of-working-Life.

คำสั่งจังหวัดสมุทรสาคร(399/2564),”การจัดตั้งสถานที่ป้องกันและควบคุมโรค หรือศูนย์ห่วงใยคนสาคร” (เพิ่มเติม)(ฉบับที่ 45)

ภัคสกุล (2560). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอารมณ์ , (หจก.ภัคสุภรณ์ การพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ 1

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต (2556). คุณภาพชีวิต การทำงาน และความสุข, พิมพ์ครั้งที่ 1(โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส จำกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร (2562). รายงานการประชุมผู้อำนวยการโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ครั้งที่ 3/2562, (สพป.สมุทรสาคร : กลุ่มอำนวยการ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร (2563).รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(o-net) ปีการศึกษา 2563, (สพป.สมุทรสาคร : กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมิณผลการจัดการศึกษา

Daniel Goleman (1995). Emotional Intelligence: Why it Can Matters More Than IQ (New York: Bantarn Books, 45.

Walton, Richard E. (1973). Quality of Working Life: What is it?. Sloan Management Review, 4 (7), 20-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30