ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อบัตรคอนเสิร์ตบนแอปพลิเคชันทิคเก็ตเมล่อนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ชัญญา นุตตะไลย์ วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต
  • สมชาย เล็กเจริญ

คำสำคัญ:

ทิคเก็ตเมล่อน, ด้านชื่อเสียง, ด้านความพึงพอใจ, ด้านความไว้วางใจ, ด้านความตั้งใจซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อบัตรคอนเสิร์ตบนแอปพลิเคชันทิคเก็ตเมล่อนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อบัตรคอนเสิร์ตบนแอปพลิเคชันทิคเก็ตเมล่อนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่เคยซื้อบัตรคอนเสิร์ตบนแอปพลิเคชันทิคเก็ตเมล่อนและพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้างใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเพื่อหาเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุของตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านชื่อเสียง 2) ด้านความพึงพอใจ 3) ด้านความไว้วางใจ 4) ความตั้งใจซื้อ และ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์  เท่ากับ 205.70, ค่า CMIN/df เท่ากับ 1.29,ค่า GFI เท่ากับ 0.93, ค่า RMSEA เท่ากับ 0.03 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ เท่ากับ 0.97 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อบัตรคอนเสิร์ตบนแอปพลิเคชันทิคเก็ตเมล่อนได้ร้อยละ97 และปัจจัยด้านความพึงพอใจของผู้บริโภคมีอิทธิพลทางตรงมากที่สุดต่อความตั้งใจซื้อบัตรคอนเสิร์ตบนแอปพลิเคชันทิคเก็ตเมล่อน ผลลัพธ์ในการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการด้านอีเวนต์ซัพพอร์ตได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อวางแผนการตลาดและสร้างกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับผู้บริโภค อันเป็นผลให้เกิดความตั้งใจซื้อบัตรคอนเสิร์ตและงานอีเวนต์ต่างๆในอนาคต

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 14).กรุงเทพฯ:

ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จิรภัทร ทองบุญเรือง. (2559).การศึกษาพฤติกรรมและกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการรับชมการเผยแพร่งานแสดงดนตรีสดและบันทึกการแสดงดนตรีสด ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555) ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. จ.ตาก: บริษัท โพรเจ็คท์ ไฟฟ์-ไฟว์ จำกัด.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศกร บุญบงการ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะซื้อรถยนต์ A ของผู้บริโภคใน กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

พิรญาณ์ ใจชื้น. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รัศมิ์ลภัส วรเดชธนันกุล. (2560).ความไว้วางใจ การสื่อสารแบบปากต่อปากเชิงบวก และการรับรู้ถึงประโยชน์ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อแพ็กเกจทัวร์ ผ่านเว็บไซต์ท่องเที่ยวของผู้บริโภคในจังหวัดระยอง.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ลงทุนแมน. (2562). กรณีศึกษา Thai Ticket Major ค้นวันที่ 9 ตุลาคม 2563 จากhttps://www.longtunman.com/15904

โสพิณ ปั้นกาญจนโต. (2551). การดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนกรณีศึกษาโรงเรียนบ้านเหล่ากกหุ่งสว่าง

ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.

Cheechongruay. (2016). หาตั๋ว..หาง่ายที่ “ticketmelon” แพลตฟอร์มรวมอีเว้นต์บันเทิง

ค้นวันที่ 10 ตุลาคม 2563 จาก https://cheechongruay.smartsme.co.th/content/10334

Hoelter, J.W. (1983). The analysis of covariance structures: Goodness-of-fit indices. Sociological Methods and Research, 11, 325–344.

Kamonwan Tookta (2017). 6 เว็บ ! ที่คุณสามารถซื้อตั๋วคอนเสิร์ตทั่วโลก ออนไลน์ได้ ค้นวันที่ 9 ตุลาคม 2563 จาก https://promotions.co.thบทความ/6-เว็บ-ที่คุณสามารถซื้อต.html

Kline, R. B. (2011). Assumptions in structural equation modeling. In Handbook of Structural Equation Modeling (R. Hoyle, ed.). Guilford Press, New York.

Oppatum, P. (2014). Trust and Characteristics of Social Commerce Affecting the Purchase Intention via Social Media. Bangkok: Bangkok University.

R. Curras-Perez, C. Ruiz, I. Sanchez-Garcia, & S. Sanz (2017). Determinants of customer retention in virtual environments. The role of perceived risk in a tourism services context, Spanish Journal of Marketing – ESIC, 21(2).131-145

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30