กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางคุณธรรมด้านจิตอาสา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การบริหารโรงเรียน, เสริมสร้างความเข้มแข็งทางคุณธรรม, จิตอาสาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางคุณธรรมด้านจิตอาสาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางคุณธรรมด้านจิตอาสาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินรับรองกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางคุณธรรมด้านจิตอาสาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) แบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 119 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 480 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินและรับรอง โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.34-0.85 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปผลการวิจัยพบว่า 1) มีสภาพการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางคุณธรรมด้านจิตอาสา ใน 4 แนวทาง คือ 1.1) ด้านส่งเสริมนโยบายพัฒนาจิตอาสา 1.2) ด้านการเรียนรู้บูรณาการสู่จิตอาสา 1.3) ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมจิตอาสา และ 1.4) ด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมสู่จิตอาสา ทุกแนวทางมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ผลการพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางคุณธรรมด้านจิตอาสา มี 4 กลยุทธ์ 12 กลยุทธ์ย่อย และ 72 กลวิธี และ 3) ผลการประเมินในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 จึงสรุปได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
References
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). คู่มือการดำเนินงานเสริมสร้างศีลธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
จเร พัฒนผล. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนสาหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัด
จันทบุรี. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย:
มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปเปเรชั่น. บริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิชัย บุญมาหนองคู. (2557). การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการ
บริหารจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ภัทรภร สีทองดี. (2559). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมจิตสาธารณะของนิสิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ:
กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหาร
การศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สายฤดี วรกิจโภคาทร. (2552). การศึกษาคุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมใน ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม).
สุริยเดว ทรีปาตี. (2557). ต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทยที่มีความอ่อนแอ. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563,
จาก http://www.thaihealth.or.th/tag/สุริยเดว%20ทรีปาตี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แผนยุทธ์ศาสตร์เพื่อพัฒนาโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรง
พิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). การวิจัยและพัฒนารูปแบบกลไกการเสริมสร้างวินัย นักเรียนใน
สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการมีจิตอาสา เสียสละ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น. (พิมพ์ครั้งที่ 1).
กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Akkar, Z. M. (2005). The changing publicness of contemporary public spaces: A case study of
the Grey’s monument area. Dissertation Abstracts International, 84(06), 2087-A.
Certo S.C. and Peter J.P. (2011). Strategic Management : Concepts and Cases. 2nded. New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์