แนวคิดจริยศาสตร์หลังนวยุค
คำสำคัญ:
จริยศาสตร์เชิงคุณธรรม, คุณธรรมติดตัว, ปัญญาเชิงปฏิบัติ, ความสุขจากความงอกงามบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “แนวคิดทางจริยศาสตร์ในปรัชญาหลังนวยุค”นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดปรัชญาหลังนวยุค 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดจริยศาสตร์ในปรัชญาหลังนวยุคและ 4) เพื่อวิจารณ์แนวคิดทางจริยศาสตร์ในปรัชญาหลังนวยุคงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสารการศึกษาเอกสารทั้งที่เกี่ยวข้องกับจริยศาสตร์และปรัชญาหลังนวยุคจากนั้นได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์และวิจารณ์ในลักษณะการพรรณนาเชิงวิเคราะห์เพื่อสร้างกรอบแนวคิดภายใต้ระเบียบวิธีการศึกษาจริยศาสตร์แบบบรรทัดฐาน
ผลวิจัยพบว่า:
ปัญหาที่เกิดขึ้นในปรัชญานวยุคเป็นวิกฤติเชิงคุณค่า จึงจำต้องนำเสนอแนวคิดทางจริยศาสตร์เชิงคุณธรรม (Virtue Ethics) ซึ่งเป็นความดีที่หล่อหลอมอยู่ในตัวตนของมนุษย์มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ
1) คุณธรรมติดตัว (Vitue of Character) เป็นการตระหนักรู้ว่า มนุษย์มีคุณค่าในฐานะตัวตนทางอภิปรัชญาโดยที่อัตถิภาวะต้องสร้างสารัตถะบนพื้นฐานของเสรีภาพแห่งตนที่ได้มาโดยกำเนิดโดยสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในโลกเพื่อเป้าหมายแห่งการสำแดงอัตถิภาวะแท้ของบุคคลเป็นประการแรกการตระหนักรู้ในคุณสมบัติเฉพาะของมนุษย์เป็นประการที่สองและ ประการสุดท้ายเป็นวิถีแห่งมนุษย์ที่เป็นสัตว์ระดับจิตวิญญาที่ประกอบด้วย 3 พฤติกรรมหลัก คือ (1) การแสวงหาความจริงของมนุษย์ (2) แสวงหาความหมายของชีวิตและ (3) ความหมายของการมีชีวิตอยู่
2) ปัญญาภาคปฏิบัติ (Practical Wisdom) เป็นการตระหนักรู้ว่าสังคมมีคุณค่าในฐานะพื้นที่ทางจริยะที่มนุษย์ต้องดำรงอยู่ด้วยการอิงอาศัยกันและเคารพในขอบเขตของเสรีภาพแห่งตนและผู้อื่น
3) ความสุขจากความงอกงาม (Flourishing Happiness) เป็นการตระหนักรู้ญาณวิทยาศาสตร์มีคุณค่าในฐานะเครื่องมือทางญาณวิทยาได้พัฒนาองค์ความรู้โดยใช้เวลาก่อตัวยาวนานเพื่อเป็นเครื่องมือในการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์เท่านั้น การนำมาประยุกตใช้จำต้องอยู่ภายใต้กรอบของจริยธธรรมเป็นสำคัญ
ดังนั้นเมื่อสังคมปรัชญานวยุคได้ประสบวิกฤติเชิงคุณค่าของความเป็นมนุษย์จึงมีความจำต้องปลูกฝังแนวคิดทางจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมที่เติมเต็มคุณค่าลงไปเพื่อเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ปรัชญาหลังนวยุคสามารถสามารถเป็นพื้นที่แห่งการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความศานติอย่างแท้จริง
References
กีรติ บุญเจือ. ปรัชญาและจริยศาสตร์สมัยปัจจุบัน (ช่วงวิจารณ์ระบบเครือข่าย). กรุงเทพฯ: สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราขภัฏสวนสุนันทา, 2537.
_________. ปรัชญาหลังนวยุค : แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ: ดวงกมล, 2545.
ชเอิญศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา. ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542.
พระทักษิณคณาธิกร. ปรัชญา. กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว, 2544.
ฟิสเชอร์, โรเบิร์ต บี. ปรัชญาวิทยาศาสตร์ : ความหมายแห่งยุคสมัย. (ศรีภราดร, แปล). กรุงเทพฯ: ต้นหมาก, 2527.
Butler, C. Postmodernism: A Very Short Introduction (1st ed.). UK: Oxford University Press. 2002.
Gilmore, M.P. The World of Humanism 1453-1517 (1st ed.). USA: Harvard University. 1962.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์