รูปแบบการแก้ปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรังด้วยหลักพุทธปรัชญา

ผู้แต่ง

  • ขรรค์ชัย เจริญศิลป์ -
  • บุญร่วม คำเมืองแสน

คำสำคัญ:

รูปแบบแก้ปัญหา, จังหวัดตรัง, หลักพุทธปรัชญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรัง 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญา 3) เพื่อบูรณาการแก้ปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรังด้วยหลักพุทธปรัชญา และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ เรื่อง รูปแบบการแก้ปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรังด้วยหลักพุทธปรัชญา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสงฆ์/นักวิชาการเกษตร ในเขตจังหวัดตรัง จำนวน 19 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

           ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรัง ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ก. สภาพปัญหากรรมสิทธิ์ในที่ดิน เกษตรกรบางรายมีที่ดินทำกิน แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือเช่าที่ดินผู้อื่น ทำให้ต้องบุกรุกใช้ประโยชน์ที่ดินรกร้างว่างเปล่าของรัฐหรือเขตป่าสงวนแห่งชาติ ข. สภาพปัญหาราคาสินค้าเกษตรตก ต่ำ เกิดจากเกษตรกรนิยมปลูกพืชชนิดเดียวกันและผลผลิตออกพร้อมกัน แล้วหันไปปลูกพืชที่มีราคาสูงในปีถัดไป ค. สภาพปัญหาการขาดนวัตกรรมใหม่ ๆ เกษตรกรพึ่งพาเทคโนโลยีในการผลิตทุกขั้น ตอนมากเกินไป ไม่คุ้มทุน ทำให้มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ง. สภาพปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม ได้แก่ ปัญหาด้านป่าไม้ ปัญหาด้านดิน ปัญหาการใช้ที่ดิน ปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณประโยชน์ ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาการกาจัดสิ่งปฏิกูล ปัญหาอากาศเสีย ปัญหาน้ำเสียและปัญหาเสียงรบกวนหลักพุทธปรัชญาในการแก้ปัญหาของเกษตรกรจังหวัดตรัง 1) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียร ฝึกฝนให้มีความชำนาญและรู้จริง รู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง ตรวจตรา หาวิธีการที่เหมาะสม คุ้มทุน บริหารจัดการให้ได้ผลดี เรียกว่า “หาเป็น” 2) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วย การรักษา คือ รู้จักคุ้มครอง รักษาโภคทรัพย์และผลงานที่ได้ทำไว้ด้วยความขยัน หมั่นเพียรโดยชอบธรรม ด้วยกำลังงานของตน เรียกว่า “เก็บเป็น” 3) กัลยาณมิตตตา คบหาคนดีเป็นมิตร เลือกเสวนาศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้รู้ ผู้ทรงคุณ ผู้มีความสามารถ ผู้น่าเคารพนับถือ และมีคุณสมบัติเกื้อกูลแก่อาชีพ การงาน หรือเรียกว่า “สร้างเครือข่ายคนดีเป็น” 4) สมชีวิตา ดำเนินชีวิตที่เหมาะสม เลี้ยงชีวิตแต่พอดี คือ รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่าย เป็นอยู่พอดีสมรายได้ มิให้ฝืดเคืองหรือฟุ่มเฟือย ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้ หรือเรียกว่า “ใช้เป็น” บูรณาการแก้ปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดตรังด้วยหลักพุทธปรัชญา ทั้ง 4 ด้าน พบว่าได้ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ข้อที่ว่าด้วย ก. อุฏฐานสัมปทา (ความขยันหมั่นเพียร) เกษตรกรต้องรู้จักการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้คุ้มค่ามากที่สุด ต้องรู้จักในการปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูลกาล ข. อารัก ขสัมปทา(รักษาไว้) ได้แก่การดูแลรักษาผลผลิตให้มีคุณภาพมาตรฐาน และการรวมกลุ่มกันขึ้นในรูปสหกรณ์ เพื่อกำหนดราคาที่เหมาะสมยุติธรรมกับผู้ผลิตและผู้บริโภค ค. กัลป์ยาณมิตตตา (มีเพื่อนที่ดี) เกษตรกรควรร่วมมือกันในหลาย ๆ ด้าน การรวมกลุ่มการจัดตั้งสหกรณ์ เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยการสร้างเครือข่ายทางสังคม ง. สมชีวิตา (ดำเนินชีวิตที่เหมาะสม) เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันในรูปสหกรณ์เพื่อบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพในทุกด้าน เพราะการร่วมมือกันเป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดความเข้มแข็ง นำมาซึ่งความยั่งยืน       องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ สามารถสรุปเป็นรูปแบบการแก้ปัญหาของเกษตรกรด้วยหลักพุทธปรัชญา สรุปเป็น “QMWC MODEL”

References

พระไตรปิฎกและอรรถกถา ฉบับของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ พุทธศักราช 2539

กรมการศาสนา, กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการศึกษาธรรมศึกษาชั้นตรี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2514.

กรมส่งเสริมการเกษตร. คู่มือการปฏิบัติงานโครงการส่งเสริมการเกษตรประจำปีงบประมาณ 2561. ตรัง : สำนักงานเกษตร, 2560.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แผนพัฒนาจังหวัดตรัง พ.ศ. 2561-2565 ฉบับปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2560.

. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (2560-2564). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2559.

. ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (2560-2579). กรุงเทพ- มหานคร : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30