การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้วยหลักพุทธธรรม
คำสำคัญ:
พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, พุทธธรรมบทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาเศรษฐกิจในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๓) เพื่อบูรณาการการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวด้วยหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวด้วยหลักพุทธธรรม” มีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบงานวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และแบบวิจัยภาคสนาม (Field Work) โดยมีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review Literature) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบเจาะจงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน ๗๗ รูป/คน สรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรูปใหม่เกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ผลการวิจัยพบว่า
๑. เศรษฐกิจชุมชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยทั่วไปลาวแบ่งการปกครองออกเป็น ๓ เขต คือ สปป.ลาวเหนือ ลาวกลาง และลาวใต้ โดยลาวเหนือมีปัญหาเกี่ยวกับการทำลายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และปัญหาด้านเศรษฐกิจโดยภาครัฐร่วมมือกับหน่วยงานของภาคเอกชนในและต่างประเทศเข้ามาแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจระดับมหภาค ทั้งภายในและต่างประเทศ ภาครัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย ส่วนสปป.ลาวกลางมีปัญหาด้านสังคมเมืองและด้านแรงงาน ได้ขอความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามาจัดโครงการต่างๆ ส่วนสปป. ลาวใต้ มีปัญหาด้านสาธารณภัยและด้านความยากจน ได้ดำเนินการระดมความช่วยเหลือทางด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ รวมถึงบุคลากรแก้ไขปัญหาทั้งทางด้านการเตือนภัย
๒.หลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สปป.ลาวเหนือ พบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมใช้หลักอปริหาณิยธรรม ๗ และหลักสังคหวัตถุ ๔ มาใช้ประยุกต์ใน
การพัฒนาจิตใจของผู้บริหาร ผู้นำท้องถิ่น และประชาชน สปป. ลาวกลาง พบปัญหาด้านสังคมเมืองและด้านแรงงาน ใช้หลักสาราณิยธรรม ๖ และ หลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการพัฒนา สปป.ลาวใต้พบปัญหาด้านสาธารณภัยและด้านความยากจนใช้หลักธรรม อิทธิบาท ๔ ประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ให้ประชาชนได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ นำไปสู่การปฏิบัติ
๓. บูรณาการการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวด้วยหลักพุทธธรรม ตามกรอบแนวคิด ๔ ด้าน คือ ๑. ด้านเศรษฐกิจ ๒. ด้านสังคม ๓. ด้านการเรียนรู้ และ ๔. ด้านการมีส่วนร่วม โดยนำหลักพุทธธรรมมาบูรณาการเสริมสร้างการ พัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
๔. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ E-ISHEE Model ได้แก่ E (Economy) เศรษฐกิจ, I (Industry) การขยัน, S (Safety) ความปลอดภัย, H (Harmony) ความสามัคคี, E (Education) การศึกษา และ E (Encourage) นำหลักพุทธธรรมมาใช้บูรณาการจะทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอย่างยังยืนต่อไป
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ. ปยุตฺโต), ธรรมนูญชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : การศาสนา สํานักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๔๗), หน้า๒๓-๒๔.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), พุทธวิธีบริหาร, (กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย,
๒๕๔๙), หน้า ๗๐-๗๕.
พิมพวัลย์ ปรีดาสวัสดิ์, การดูแลสุขภาพตนเองในทัศนของสังคมวัฒนธรรม, (กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัย
ประชากรและสังคม, ๒๕๓๐), หน้า ๑๕๖.
พระวิทยา ญาณสาโร (คุ้มราษฎร์), “แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับหลักพุทธธรรมที่ปรก กฎในพุทธ
ศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง
กรณ ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔), หน้า ๘๙.
พระปลัดประจวบทุนผลงาม, “การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนของพระครูพุทธิธรรมรักษ์
มหามกุฏราชวิทยาลัย, พุทธศาสนสุภาษิตฉบับรวมเล่ม, พิมพ์ครั้งที่ ๓๓, (กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราช
วิทยาลัย, ๒๕๔๖), หน้า ๗๕.
ธรรมรักษา, พระไตรปิฏกฉบับสุภาษิต, (กรุงเทพมหานคร : รุ่งแสงการพิมพ์, ๒๕๓๒), หน้า ๑๒.
(บุญเท็น พุทฺธรกฺขิโต)”, การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่),
๒๕๕๐, หน้า ๑๕๘.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์