การพัฒนาการคิดแบบองค์รวมด้วยหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • ชายนำ ภาววิมล -
  • สุวิญ รักสัตย์
  • สุเชาวน์ พลอยชุม

คำสำคัญ:

การคิดแบบองค์รวม, การพัฒนาการคิดแบบองค์รวมด้วยหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาการคิดแบบองค์รวม 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับการพัฒนาการคิด 3) เพื่อบูรณาการการพัฒนาการคิดแบบองค์รวมด้วยหลักธรรมในพระพุทธศาสนา 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการการพัฒนาการคิดแบบองค์รวมด้วยหลักธรรมในพระพุทธศาสนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรง คุณวุฒิจำนวน 11 รูป/คน เป็นหลัก

           ผลการวิจัยพบว่า

           แนวคิดแบบองค์รวมและการคิดแบบองค์รวมอันเป็นกระแสหลักของสังคมโลกยุคปัจจุบันมี 3 แนวคิดหลักได้แก่ ความเป็นทั้งหมดตามนัยปรัชญากรีกโบราณ ตัวแบบเชิงระบบ และจิตวิทยาเก็สตัลท์ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในสังคมโลกยุคฐานวิถีชีวิตใหม่เป็นเหตุปัจจัยที่นำไปสู่ข้อเรียกร้องในการหาวิธีการคิดใหม่ที่เกื้อหนุนให้มนุษย์เป็นกำลังคนคุณภาพผู้เปรื่องปัญญา มีสมรรถนะในการคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมและผลผลิตทางการคิดเชิงพาณิชย์ สามารถใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ได้อย่างชาญฉลาด วิธีการคิดที่พึงนำมาใช้ในการพัฒนากำลังคนคุณภาพคือ ลักษณะการคิด 3 ได้แก่ การคิดเชิงเหตุผล การคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงความเป็นไปได้ กับความสามารถ 3 ได้แก่ ความสามารถในการคิดเชิงสัญลักษณ์ ความสามารถในการคาดคะเน ความสามารถในการทำให้เกิดผลอย่างต่อเนื่อง

           ญาณทัสสนะและอริยสัจสี่เป็นหลักธรรมตัวอย่างซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นองค์รวมบนฐานของการคิดที่ดีคือ เป็นจริง มีประโยชน์ ปฏิบัติได้ ถูกกาลเทศะ โดยมีหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการคิดโดยตรงคือ มรรคมีองค์แปดและอัญญาสมานาเจตสิก ส่วนการคิดแบบองค์รวมในพระพุทธศาสนาคือ การหยั่งเห็นภาพรวมของหลักธรรมต่าง ๆ ที่เพียงพอกับการพิจารณาโดยแยบคาย และนำไปสู่ผล 3 ประการได้แก่ ความรู้แจ้งตามความเป็นจริง การแก้ปัญหาให้หมดไปโดยสิ้นเชิง และความเจริญโดยบริบูรณ์ วิธีการพัฒนาการคิดในพระพุทธศาสนามี 2 แนวทางคือ การพัฒนาโดยใช้หลักปรโตโฆะสะ - โยนิโสมนสิการ และการนำเกณฑ์การพิจารณาสัตว์โลกของพระบรมศาสดามาปรับประยุกต์ใช้

          การคิดแบบองค์รวมเชิงพุทธเป็นกระบวนทัศน์ที่สร้างความสมดุลให้กับวิธีคิดและผลิตภาพทางการคิดเพื่อตอบสนองความต้องการในสังคมโลกยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ สารัตถะแห่งการคิดแบบองค์รวมประกอบด้วยความพรั่งพร้อม ความถึงพร้อม และความเพียงพอกับการดำเนินชีวิตที่ดีของปัจเจกบุคคล โดยใช้ตัวชี้วัด“ปทุมเกณฑ์”เป็นแนวทางการพัฒนาการคิดแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะทางจิตที่เอื้อต่อการคิดแบบองค์รวม แล้วสังเคราะห์เป็นความรู้ที่เรียกว่า ผลึกการคิดที่มุ่งสู่ความเจริญโดยบริบูรณ์ (The Buddhist Synergetic Thinking Growth Model)

References

จอห์น เมดิน่า. (2560). 12 กฎทองของคนใช้สมองเป็น. (วิโรจน์ ภัทรทีปกร,แปล). กรุงเทพฯ: วีเลิร์น.

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2559). จิตวิทยาบุคลิกภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬา

ลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญภัสร์ ศิรธัชนราโรจน์. (2561). จิตวิทยากับการพัฒนาตน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬา

ลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 40. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ

ธรรมทานกุศลจิต.

มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2559). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฎ

ราชวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยฯ.

สุเชาวน์ พลอยชุม. (2555). พุทธศาสนา : ศาสนาหรือปรัชญา, ใน สุเชาวน์ พลอยชุม และ สุวิญ รักสัตย์.

สารัตถะวิชาการพุทธปรัชญา. (หน้า 1 – 13). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎ

ราชวิทยาลัย

โรวาน กิ๊บสัน. (2546). คิดใหม่ต่อธุรกิจ. ใน โรวาน กิ๊บสัน (บรรณาธิการ). คิดใหม่เพื่ออนาคต. (หน้า 13 - 29). (ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย แปล). กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ.

เอ็ดเวิร์ด เดอโบโน. (2556). สุดยอดทักษะการคิด. (กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์, แปล). กรุงเทพฯ:

แอคทีฟพริ้นท์

Saul McLeod. (2019). Likert Scale Definition, Examples and Analysis. from https://www.

simplypsychology.org/likert-scale.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30