การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการ ท่องเที่ยวของผู้ติดตามช่องวีล็อกท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการท่องเที่ยวของผู้ติดตามช่องวีล็อกท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ที่เคยติดตามช่องวีล็อกท่องเที่ยว และพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 277 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา ระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการท่องเที่ยวของผู้ติดตามช่องวีล็อกท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (χ2) = 143.05, ค่า CMIN/df = 1.47, ค่าองศาอิสระ (df) = 97, ค่า GFI = 0.93, ค่า AGFI = 0.91, ค่า SRMR = 0.03, ค่า RMSEA = 0.04 ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 16 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) องค์ประกอบปัจจัยทัศนคติต่อสถานที่ท่องเที่ยว 2) องค์ประกอบปัจจัยความตั้งใจแบ่งปันวิดีโอคอนเทนต์ และ 3) องค์ประกอบปัจจัยคุณลักษณะของวีล็อกเกอร์
References
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชไมพร กาญจนกิจสกลุ. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: โพรเจ็คท์ไฟฟ์-โฟว์.
เนตรดาว อยู่ยง. (2559). การเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวตลาดน้ำคลองลัด
มะยมของนักท่องเที่ยวไทย. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พันธ์กานต์ ทศแสนสิน และสุมามาลย์ ปานคำ. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการบอกต่อ แบบปากต่อปากในการเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 17(1), 156-157.
แพร ไกรฤกษ. (2558). อิทธิพลของบิวตี้บล็อกเกอร์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมความงามของสตรีไทยใน
ยุคสื่อสังคมออนไลน์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี:
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
แพรวไพลิน มณีขัติย์ และพรพรหม สุธาทร. (2563). อิทธิพลของรีวิวออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการวางแผน
ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มเจเนเรชันวาย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2), 590-609.
ภคภพ คงคาเจริญ และ สุพีชา พาณิชย์ปฐม. (2557). ผลกระทบจากทัศนคติถึงความตั้งใจในการซื้อ อาคารชุด
เขียวของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย. บทความเอกสารโครงการประชุมวิชาการ ประจำปี 2557,
-531.
สุนัน คงธงชัย. (2562). แรงจูงใจในการแชร์คุณค่าประสบการณ์และทัศนคติของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความ
ตั้งใจแนะนําร้านกาแฟสดขนาดย่อมผู้ประกอบการไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อีไอซี. (2560). 3 กระแสแรงแห่งยุค ปรับลุคธุรกิจท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2563, เข้าถึงได้จาก
https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/3369/eol70mpcpl/EIC_Insight_Tourism_2017_TH.pdf
Choi, W., & Lee, Y. (2019). Effects of fashion vlogger attributes on product attitude and content
sharing. Fashion and Textiles, 6(6), 1-18.
Devineni, M. (2017). 10 Different popular types of vlogs. Retrieved from
http://vloglikepro.com/10-different-popular-types-vlogs
Eukeik.ee. (2020). คนไทยใช้อินเทอร์เน็ต 52 ล้านคน บนโลกออนไลน์ 9.01 ชั่วโมง ทำอะไร. สืบค้นเมื่อ
พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก https://marketeeronline.co/archives/146960
Kankate K., (2019). Video Marketing Ep.01 : อัปเดตสถิติ Video Marketing สำหรับปี 2019 ที่
นักการตลาดไม่ควรพลาด. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก https://stepstraining.co/content/video-marketing-ep-01-stat-2019
Marketing Oops. (2021). ส่อง 6 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในปี 2564 ที่ทุกคนต้องเรียนรู้และอยู่กับมัน
ไปตลอด. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.marketingoops.com/tech-2/6-trends-technology-in-2021/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์